รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย

กเชษฐ์ กิ่งชนะ

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดเชียงราย และ 2) ประเมินการใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย แหล่งข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ดูแลโครงการ ของสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดเชียงราย และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงรายประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษา 2) คุณภาพของครูผู้สอน (3) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา 4) การนิเทศการศึกษา และ 5) การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการทดลองใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28 เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบที่มีความเห็นด้วยมากที่สุด คือ ด้านคุณภาพของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ย 4.31 รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.30 ด้านคุณภาพของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.29 ด้านการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน มีค่าเฉลี่ย 4.27 และด้านการนิเทศการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.25 ตามลำดับ

3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย พบว่าโดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อคุณภาพของรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย ในด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.37 และทุกด้านมีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.44, 4.39 และ 4.30 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในแต่ละตัวชี้วัด พบว่าผลการประเมินทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากและทุกตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 3.51

 คำสำคัญ:รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ, การจัดการอาชีวศึกษา, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

 

ABSTRACT

Research on the Cooperative network system of vocational education in Border Patrol Police School, Chiang Rai province was an experimental research. The objective were 1) To create a network of vocational management cooperation In the Border Patrol Police School in Chiang Rai. And 2) To evaluate the use of a network of vocational management cooperation In the Border Patrol Police School Chiang Rai Province. The data sources were the administrators and teachers from vocational colleges under Office of the Vocational Education Commission in Chiang Rai Provinceand Border Patrol Police Schools under Border Patrol Police Headquarters 32 in Chiang Rai Province. The research instruments included the test, questionnaires, interviews and focus group discussion. The quantity data were analyzed by mean and standard deviation. The quality data were analyzed by content analysis.

 The research found that: 1. Form of cooperation network for vocational education management in the Border Patrol Police School Chiang Rai province has 5 elements included 1) Quality of school administrators 2) Quality of teachers (3) Participation of school board 4) Educational supervision and 5) Educational resource management.    2. The experimental results of model of vocational education management network in border patrol police school Chiang Rai Province found that the sample group had opinions on the implementation of the experimental network model for cooperation in vocational training in the Border Patrol Police School. The overall picture high level with average of 4.28, when considering each element, it was found that the most agreed component was the quality of teachers average of 4.31. Followed by the educational resource management had an average of 4.30. Regarding the quality of the administrators, the mean value was 4.29. The participation of the school and community committee was 4.27 and the educational supervision was 4.25, respectively.  3. The results of the evaluation of thenetwork use of vocational cooperation in the Border Patrol Police School, Chiang Rai province. It was found that in the sample group had opinions on the quality of the format terms of feasibility, appropriateness and usefulness. The overall picture at high level with 4.37 average . And all aspects were feasible, appropriateness and usefulness were at high level, with 4.44 average of, 4.39 and 4.30, respectively, to consider in each indicator. It was found that every evaluation result were at every level as well.

 Keywords: Cooperative network system, vocational education administration, Border Patrol Police School 


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.