แนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี

พีรวัชร์ ราชิวงศ์

Abstract


บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นเรื่องศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี นี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานในพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม  จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม  จังหวัดอุบลราชธานี เป็นดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิทยาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling)  เฉพาะกลุ่มประชากรที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า

แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานทางพระพุทธศาสนา นั้นถือเป็นหน้าที่หลักของกรมศิลปากร สำนักงานโบราณคดีและสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบปฏิบัติเป็นหลัก โดยจะต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะในฐานะหลักฐานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางศิลปะที่เกี่ยวพันธ์กับชุมชนสังคมประเทศชาติเป็นสำคัญ แนวทางอนุรักษ์ที่สำคัญกระทำได้โดยการดูแลรักษาปกป้องไม่ให้เกิดความเสียหายหรือถูกทำลายเป็นสำคัญ

แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าบทบาทพระสงฆ์มีความสำคัญในการอนุรักษ์โบราณสถานเป็นอย่างยิ่งนอกเหนือจากบทบาทในด้านอื่นๆ ซึ่งบทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถานนั้นถือเป็นหน้าที่ตามบัญญัติพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าได้มอบหมายให้พระสงฆ์ภายในวัดมีหน้าที่ในการช่วยดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัด นอกจากนี้แล้วยังถือเป็นหน้าที่ตามความแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ที่พระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการปกครองวัด หรือ เจ้าอาวาส มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ

ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานในพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์วัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จึงถือเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ และความมีส่วนร่วมจากชุมชนที่เกี่ยวข้องในการดูแลโบราณสถานจึงจะทำให้เกิดการอนุรักษ์โบราณสถานที่มีความมั่นคงยั่งยืนเป็นแหล่งการเรียนรู้แก่สังคมและประเทศชาติต่อไป

 คำสำคัญ: แนวทางการอนุรักษ์, โบราณสถาน, วัด, จังหวัดอุบลราชธานี,

 

ABSTRACT

                This thesis on guidelines in conservation of the archaeological site in WatManiwanaram, Ubonratchathani province includes 3 objectives:1) to study guidelines in conservation of the Buddhist archaeological site; 2) to study guidelines in conservation of  the Buddhist archaeological site of the monks in WatManiwanaram, Ubonratchathani province; and 3) to analyze the guidelines in promoting the conservation of the Buddhist archaeological site of the monks in WatManiwanaram, Ubonratchathani province. The participatory action research (PAR) and the purposive sampling method have been used specifically in selecting the populations related to this research.

            Findings of the study:The guidelines in conservation of Buddhist archaeological sites are under the responsibility of the Fine Arts Department, the Office of Archaeology and the National Museum being in charge of construction sites with historical evidences of crucial communal, social and national artistic values. The essential conservational guidelines are to maintain and protect the sites from damages or demolitions.

            In the conservation of the archaeological site in WatManiwanaram, Ubonratchathani province, it has been found that beyond other functions of monks, their role in conserving the archaeological site is also vital that is considered as a duty in accordance with the Buddhist disciplines that the Buddha regulated for monks in protecting and maintaining the monastic properties. In addition, it is prescribed by the Thai Sangha Acts that the abbots or governing monks are in charge of conserving the Buddhist archaeological sites.

            The guidelines in conservation of the Buddhist archaeological site of the monks in WatManiwanaram, Ubonratchathani province are, therefore, the direct duty of Buddhist monks with the participation of related communities in conserving the archaeological site to be sustainable learning source of society and the nation further.

 Keyword: Conservation guidelines, Archaeological Site, Temple, Ubonrachathani Province


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.