การย้ายถิ่นระหว่างประเทศกับสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

วสันต์ ปวนปันวงศ์

Abstract


บทคัดย่อ

ว่าด้วยปรากฎการณ์การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (International migration) บทความฉบับนี้ต้องการสะท้อนให้เห็นว่าการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ (International migration)ที่มีความสัมพันธ์กับอำนาจรัฐชาติ(Nation State) และ เส้นพรมแดน (boundary)ด้วยความเป็นรัฐชาติ(Nation State) จึงทำให้เกิดการแทรกแซงและการควบคุมทำให้ลักษณะของการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ(International migration)ได้เปลี่ยนแปลงไปซึ่งสะท้อนออกมาในรูปของการเคลื่อนย้ายของคนจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งฉะนั้นในประเด็นเรื่องการย้ายถิ่นระหว่างประเทศกับสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จะยึดการวิเคราะห์ในด้าน ลักษณะของการเปลี่ยนที่อยู่อาศัย โดยการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยต้องข้ามเขตการปกครอง และเงื่อนไขด้านเวลา และนำเสนอเพื่อมุ่งอธิบายถึงสถานการณ์เรื่องของแรงงานต่างด้าวที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ดังประเด็นต่อไปนี้ 1. ว่าด้วยเรื่องสถานการณ์การอพยพย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย2. นโยบายของรัฐในการกำกับควบคุมคนต่างด้าวในประเทศไทย ทั้งนี้ผู้เขียนยังได้ทำการวิเคราะห์ประเด็นเรื่องการย้ายถิ่นระหว่างประเทศกับสถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ผ่านกรอบทฤษฎี ได้แก่ การย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) ที่เข้ามาในประเทศไทยตามทฤษฎีว่าด้วยการย้ายถิ่น (Theory of Migration) และ การย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) ที่เข้ามาในประเทศไทยตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค (Neo-classical Economic)ผลของการวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีข้างต้นส่งสะท้อนให้เห็นว่าการย้ายถิ่นของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว และกัมพูชา) ส่งผลด้านบวกและด้านลบต่อประเด็นด้านการเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม

 คำสำคัญ: การย้ายถิ่น, การย้ายถิ่นระหว่างประเทศ, แรงงานต่างด้าว

 

ABSTRACT

In regard to the phenomenon of “International migration”, this article reflects that ‘International migration’ is involved with ‘Nation State’ and boundary. With condition of ‘Nation State’, this causes interference and control which changes an appearance of ‘International migration’ reflecting as a form of population movement from country to country. Therefore, an issue concerning the ‘International migration’ and a situationof migrant worker in Thailand will refer from analysis in aspect of relocation crossing an administrative district and condition of time.  The result will be explained with regard to the situation of migrant worker moving into Thailand as following issues; 1. The situation of migrant worker’s immigration into Thailand. 2. The nation policy of migrant worker’s control in Thailand  A writer analysts the issue involving the ‘International migration’ and the situation of migrant worker in Thailand with the scope of theory such as migration of 3 nationalities-migrant-worker; (Myanmar, Laos and Cambodia) who move into Thailand referring to a ‘Theory of Migration’ and a ‘Theory of Neo-classical Economic’.  Result of Analysis with these theories reflect that migration of 3 nationalities-migrant-worker; (Myanmar, Laos and Cambodia) affects both positive and negative aspects to economy, politics, society and culture.

 Keywords:Migration, International migration, Immigrant’s workers


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.