ความเป็นมนุษย์ด้วยหลักไตรสิกขา : Human Development and the Three Studies
Abstract
จากบทความนี้เพื่อศึกษาความเป็นมนุษย์ด้วยหลักไตรสิกขา จากศักยภาพสูงสุดของความเป็นมนุษย์ เป็นกระบวนการหนึ่งผ่านการสร้างความสามารถจากหัวใจของมนุษย์ถือได้ว่า“คน” จึงเป็นต้นทุนสำคัญขององค์กรในการทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ และตอบสนองต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา การสร้างทุนมนุษย์ในองค์กร ผู้บริหารจึงต้องพัฒนาความรู้ขั้นสูงอย่างต่อเนื่องทั้งด้านทักษะ และประสบการณ์ในการทำงานโดย การจำแนก การสรรหาและการคัดเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถสูงสำหรับการทำงานขณะเดียวกัน ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ดีพอเพื่อให้การพัฒนาทุนมนุษย์ เป็นไปได้โดยถูกทิศทางและสามารถดึงศักยภาพทุนมนุษย์ในองค์การออกมาใช้ผลิตผลงานได้อย่างเต็มที่ เพราะการพัฒนาทุนมนุษย์ คือการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะและความสามารถของแต่ละบุคคลที่ นำมาสู่การสร้างคุณค่าให้กับองค์กร เนื่องจาก หลักไตรสิกขา ถือได้ว่า เป็นหัวใจหลักของทุนมนุษย์และเป็นแกนหลักหรือหัวใจของ พระพุทธศาสนา และเป็นภูมิคุ้มกันให้มนุษย์ยืนอยู่บนหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ 1) การมีศีล ได้แก่ การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบด้วยใจ 2) การมีสมาธิ ได้แก่การปฏิบัติงานอย่าง มุ่งมั่น และ 3) การมีปัญญา ได้แก่การรู้เป็นระบบ รู้รอบ
Keywords
Humanity; Human capital development; the Three Studies.
Refbacks
- There are currently no refbacks.