การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์เมืองมรดกโลกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Phrakhruprachot phattarakun

Abstract


         This research entitled “Sangha’s Participation in Preservation of World Heritage Sites Ayutthaya Province.” The research consists of three main objectives, namely: 1) to study the Sangha’s participation in preservation of world heritage sites Ayutthaya Province; 2) to explore the level of Sangha’s participation in preservation of world heritage sites Ayutthaya Province; and 3) to analyze the problems, obstacles and recommendation on the Sangha’s participation in preservation of world heritage sites Ayutthaya Province. The research was the Mixed Methods: Quantitative Research by survey research and Qualitative Research with study of conceptual framework Cohen Jonh & Norman T.Uphoff's Cohen and Norman T.Uphoff Coordination Theory: 1) Participation in Decision Making, 2) Participation in activities, 3) Participation in benefits, and 4) Participation in monitoring and evaluation.

The sample of this study consisted of 324 monks living in the area of world heritage sites by using specific sampling method. The data were analyzed by statistical techniques such as Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-test, F-test (One–Way ANOVA) and Least Significant Difference: LSD. And for Qualitative Research, the data collection was conducted by In-depth Interview with 9 key-informants; and finally, the Content Analysis Technique was used for data analysis.

The findings of the research revealed that mostly monks are between 51–60 years old, being in monkshood between 1–5 years, educating in Bachelor Degree, Dharmic educating (Dhamma) in Dhamma Tree, Dharmic educating (Pali) in Pali II and III, and period to live in monastery between 1–5 years. Overall aspects have been found in good level; having considered each aspect, the aspect of gaining benefit has been found in good level, the aspect of planning, the aspect of making decision, and the aspect of monitoring and evaluation, respectively. Meanwhile, the problems and obstacles have been found in 4 aspects: the aspect of participation in decision making, Planning, Gaining benefits, and Monitoring and Evaluation.

บทคัดย่อ           

         บทความวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์เมืองมรดกโลกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์เมืองมรดกโลก ศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ ในการอนุรักษ์เมืองมรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mix Methods) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยศึกษาตามกรอบแนวคิด ทฤษฎีการมีส่วนร่วมของ โคเฮน จอร์น และ นอร์แมน อัพฮอฟฟ์ (Cohen Jonh & Norman T.Uphoff) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมด้านการตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 3) การมีส่วนร่วมด้านการได้รับประโยชน์และ 4) การมีส่วนร่วมด้านติดตามผลและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในเขตพื้นที่เมืองมรดกโลกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 324 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดย (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบ ค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จ􀄞ำนวน 9 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบปริบทผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ส่วนใหญ่ ที่มีอายุระหว่าง 51 – 60 ปี มีพรรษาระหว่าง 1 – 5 พรรษา มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิการศึกษาทางธรรม (แผนกนักธรรม) ระดับนักธรรมชั้นตรี มีวุฒิการศึกษาทางธรรม (แผนกบาลี) ประโยค 1 - 2 – ป.ธ.3 และมีระยะเวลาที่สังกัดอยู่ภายในวัด ระหว่าง 1 – 5 ปี มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์เมืองมรดกโลกในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการได้รับประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการร่วมวางแผนด้านการตัดสินใจ ส่วนด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนปัญหาอุปสรรคจำแนกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ, ด้านการวางแผน, ปัญหาด้านการร่วมรับผลประโยชน์และด้านการติดตามและการประเมินผล

          


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com