การพัฒนาเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคม ภายใต้นโยบายหมู่บ้านศีล 5

Phumsan Kwankunpat, Phramaha Chutipak Abhinanto, Phra Srisombhot waranyu Sonchun

Abstract


          The objectives of this study were to: 1) teach and promote the development of a monastic network for society under a program promoting the roles of tambon training units and the five precepts village policy; 2) create a learning and working space between the monk-novice network and the Dhammathayat monks for social development; and 3) support the work of the tambon training units regarding well-being issues and the five precepts village as well as propose suggestions about holistic well-being policy to Buddhist organizations.
          This study employed a mixed approach of document research and qualitative research. Related documents were examined to explain related social situations. This study focused on searching for insights into the application of the five precepts to social development through the explanation of the five precepts and the concepts of tambon training units. In addition to the literature review, general operational activities carried out by Buddhist ecclesiastical officialmonks and Dhammathayat monks were analyzed. The data collected from the literature review, field survey and training were synthesized.
          It was found that there were 790 Buddhist ecclesiastical officials from five provinces – Roi-et, Songkhla, Nakhon Sawan, Phayao and Chiangrai – participating in the training offered by the tambon training units regarding to five precepts village policy and well-being promotion. The participants were interested in teaching Buddhism most, followed by monks’ well-being and issues concerning natural resources, environment and indigenous knowledge respectively. As for the creation of a learning and working space between monks, five temples from each of the above provinces were selected as the model for promoting well-being and two well-being plans developed according to the five precepts village policy were implemented in Nakhon Sawan and Phayao. The results were proposed to organizations dealing with monks’ well-being so that a working group can be set up to map out plans for promoting the well-being of both local monks and residents. Such plans are for both the provincial and tambon levels but will be implemented by tambon training units and the five precepts village policy. Operational research for developing a working network related to monks’ well-being should be carried out so that such a network can implement the monks’ well-being plans in line with changing social, economic and cultural situations.

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยโครงการพัฒนาเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคม ภายใต้นโยบายหมู่บ้านศีล 5 มีวัตถุประสงค์ประการที่หนึ่งเพื่อจัดการอบรมและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคม ภายใต้การส่งเสริมบทบาทการทำงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล และการสนับสนุนนโยบายหมู่บ้านศีล 5 ประการที่สองเพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้และการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่ายพระสงฆ์ สามเณร และพระนิสิตของโครงการพระธรรมทายาทเพื่อการพัฒนาสังคม ประการที่สามเพื่อสนับสนุนการสร้างพื้นที่เพื่อการขับเคลื่อนการทำงานด้านสุขภาวะของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล และหมู่บ้านศีล 5 ตลอดจนการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะองค์รวมให้กับองค์กรทางพระพุทธศาสนา

          การศึกษาและดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคม ภายใต้นโยบายหมู่บ้านศีล 5 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงผสมผสาน ซึ่งมุ่งเน้นทั้งการวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและรวบรวมเอกสารทางวิชาการที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ผู้วิจัยเข้าไปศึกษา ซึ่งสำหรับการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการอธิบายหลักศีล 5 และแนวคิดของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) เพื่อให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานต่อประเด็นการใช้หลักศีล 5 ในการพัฒนาสังคม และดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูลและกิจกรรมพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นศึกษาจากพระสังฆาธิการและพระธรรมทายาท เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนต่อการสังเคราะห์กิจกรรมการดำเนินงานให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัยที่ได้จากการศึกษาเชิงเอกสาร การศึกษาภาคสนาม และการจัดอบรม

          ผลการดำเนินโครงการและศึกษาวิจัยพบว่า พระสังฆาธิการที่เข้าร่วมโครงการใน 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สงขลา นครสวรรค์ พะเยา และเชียงราย มีจำนวนทั้งสิ้น 790 รูป โดยจัดการอบรมและถวายองค์ความรู้ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล หมู่บ้านศีล 5 และการส่งเสริมสุขภาวะ ซึ่งพบว่า พระสังฆาธิการมีความสนใจในงานพัฒนาประเด็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนามากที่สุด รองลงมาคือประเด็นสุขภาพพระสงฆ์ และประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับการสร้างพื้นที่การเรียนรู้และเครือข่ายการทำงานร่วมกันของคณะสงฆ์ได้คัดเลือกวัดเครือข่ายต้นแบบสุขภาวะจังหวัดละ 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 25 วัด และผลักดันให้เกิดแผนพัฒนาสุขภาวะตามนโยบายหมู่บ้านศีล 5 จำนวน 2 แผน ในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดพะเยา ซึ่งจากผลการดำเนินงานทั้งหมดได้สรุปเป็นข้อเสนอแนะโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประเด็นสุขภาวะในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในสังคมไทยผลักดันการจัดตั้งคณะทำงานและนโยบายการทำงานประจำจังหวัดให้กับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ผลักดันการจัดทำนโยบายเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์และประชาชนในพื้นที่ ผ่านกลไกการทำงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลและโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 และพัฒนาการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาเครือข่ายการทำงานด้านสุขภาพขององค์กรทางพระพุทธศาสนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมมากขึ้น


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com