การมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนความหลาก หลายทางสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปี
Abstract
The research article entitled “The Participation in Sustainable Management of Cultural Tourist Attractions on Diversity of Multicultural Society in 100 Year Khlong Suan Old Market Community.” The research consists of three main objectives, namely: 1) to study the participation of community in cultural tourism management in 100-Year Khlong Suan Old Market community; 2) to compare the participation levels of the people in managing cultural tourism in 100-Year Khlong Suan Old Market; and 3) to analyze the cultural tourism management based on diversity of sustainable multicultural society in 100-Year Khlong Suan Old Market community. The research was the Mixed Methods: Quantitative Research by survey research and Qualitative Research. The data collection was conducted with the help of questionnaire. The sample of this study consisted of 323 people living in the 100 Year Khlong Suan Old Market area in Moo 6 Thepparat Sub-district, Baan Pho District, Chachoengsao Province and Moo 1 Khlong Suan sub-district, Bang Bor District, Samutprakan Province, drawn from 1,711 by using the Taro Yamane’s formula.
The findings revealed that the overall participation of the people in cultural tourism management in 100 Year Khlong Suan Old Market community were found in good level. As for the comparison of level of people’s participation in cultural tourism management in 100 Year Khlong Suan Old Market community, classified by personal factors, it has been found that people with different age, race, occupation
and duration of stay in the area had no different opinions, denying the hypothesis. Meanwhile, people with different level of education had different opinions with statistical significance at the 0.05 level, accepting the hypothesis. Additionally, all the four aspects of Cultural Tourism Management based on Diversity of Sustainable Multicultural Society in 100 Year Khlong Suan Old Market Community were found that 1) the area management and tourist attraction in community were supported by public budget to improve the landscape and develop the tourism in community; 2) tourism management and servicing, keeping
stores neat and tidy; 3) People’s participation in the community: regional sectors use good governance to govern people in community; and 4) Environment conservation and people’s lifestyle in community: there is a campaign to keep the market clean, control pollutions, make people save and solve drug addiction and gambling problems in community.
บทคัดย่อ
บทความ เรื่อง “การมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนความหลากหลายทางสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพื่อวิเคราะห์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนความหลากหลายทางสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ มีวิธีการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่่ในพื้นที่บริเวณตลาดคลองสวน 100 ปี หมู่ที่ 6 ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และชุมชนหมู่ที่ 1 ตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 1,711 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบมีจุดมุ่งหมาย โดยใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาตามวิธีการของ Taro Yamane วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูป/คน โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนความหลายหลายทางสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนตลาดคลองสวน100 ปี โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
จากการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปี ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปี พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ชาติพันธุ์/เชื้อชาติ อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อจำแนกตาม ระดับการศึกษา พบว่า มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ขณะที่การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนความหลากหลายทางสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในชุมชนตลาดคลองสวน 100 ปีทั้ง 4 ด้าน พบว่า 1) ด้านการจัดการพื้นที่และสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน ได้งบประมาณจากภาครัฐมาปรับภูมิทัศน์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน 2) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ การจัดร้านค้าเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนภาคท้องถิ่นใช้หลักธรรมาภิบาลในการปกครองดูแลประชาชนในชุมชน และ 4) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนในชุมชน มีการดูแลเรื่องความสะอาด รณรงค์ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีจิตสำนึกในเรื่องการรักษาความสะอาด
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com