แนวทางการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์ วิถีธรรมในจังหวัดเชียงราย
Abstract
บทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์วิถีธรรมในจังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบศักยภาพในการปลูกข้าวอินทรีย์ที่ยั่งยืนโดยการอยู่อย่างเกื้อกูลกันระหว่างธรรมชาติและชาวนา เสริมสร้างให้ชาวนาและคนในชุมชนมีศักยภาพในการปลูกข้าวด้วยกระบวนการอินทรีย์ได้อย่างผู้มีความรู้ สามารถลดต้นทุนการผลิต ปลอดจากสารเคมี มีทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาปัจจัยทางด้านสภาพบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และปัจจัยเสริมด้านการได้รับข้อมูลด้านอินทรีย์ของชาวนา และกลไกที่ส่งผลต่อศักยภาพของชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงราย (2) ศึกษาศักยภาพชาวนาต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงราย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพของชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์ รวมถึงปัญหา อุปสรรค วิธีการแก้ไข และกลไกที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์ จังหวัดเชียงราย (3) เพื่อนำเสนอรูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนาศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์จังหวัดเชียงราย จากการใช้กระบวนการผสมผสานการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ชาวนาผู้ศึกษาการทำอินทรีย์จากโรงเรียนชาวนา จำนวน 340 คน เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ ตลอดจนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสาร การประชุมกลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการทำนาอินทรีย์ นักวิชาการและผู้นำชาวนา ปราชญ์ชาวบ้าน พระผู้สอนศาสนา เพื่อนำไปสู่รูปแบบศักยภาพชาวนาในการปลูกข้าวอินทรีย์อย่างยั่งยืน
โดยโมเดลรูปแบบแสดงถึงชาวนาสามารถพัฒนาศักยภาพการปลูกข้าวอินทรีย์จากการได้จากการเข้าอบรมพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติตลอดจนการมีส่วนร่วม และผลักดันให้ชาวนาตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการเรียนรู้ที่ได้จากสื่อ ทำให้ชาวนาเกิดการยอมรับกระบวนการปลูกข้าวอินทรีย์ ทั้งความเชื่อที่ชาวนาจะเปลี่ยนแปลงได้จากการได้รับการกล่อมเกลาทัศนคติจากปัจจัยด้านสังคม และสื่อผู้นำทางจิตใจ ที่ทำให้ชาวนาในจังหวัดเชียงรายสนใจและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการปลูกข้าวเคมีเป็นทำการปลูกข้าวอินทรีย์และเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการตลาด ทำให้ข้าวที่ชาวนาปลูกมีคุณค่าและเพิ่มมูลค่าของข้าวโดยการปลูกข้าวด้วยกระบวนการอินทรีย์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมทำให้ชาวนาและชุมชนเกิดความเข้มแข็งและเป็นการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
คำสำคัญ: ศักยภาพชาวนา, การปลูกข้าว, วิถีธรรม
ABSTRACT
The development potential of farmers to grow organic rice with The Dharma in Chiang Rai province, to find a model in growing organic rice with sustainability between the Nature. Enhance the farmers and the people in the communities to grow rice wisely with organic methods which would help lower input costs, reduce the chemicals use. But encourage positive views toward the nature and environments resulting in the better quality of life of the farmers. The objectives were 1) to study many factors: the people, the economics, the social factor and an additional factor on the way the farmers receives information on organic methods as well as any mechanisms affecting the farmers when growing rice in Chiang Rai province, 2) to study the potentials of the farmers in growing the organic rice in Chiang Rai province and analyze the factors influencing the potentials of the farmers in growing the organic rice as well as any difficulties, problems and solutions and any mechanisms influencing the potential development of the farmers in growing the organic rice in Chiang Rai province, 3) to present a suitable model in the development of the potentials of the farmers in growing the organic rice in Chiang Rai province. The combinations of quantitative and qualitative research methods were conducted and the data collected from an interview on 340 farmers who had attended the organic agriculture course in the Economic Buddhism School. The data were analyzed quantitatively by Statistical Packages for Social Science and descriptive statistics presented by percentage, mean, standard deviation, Pearson Correlation and the path analysis. The qualitative data were synthesized through documents, group meetings, and deep interviews with experts on the organic rice commissions as well as scholars, peasant leaders, highly intelligent villagers and monks.
The model obtained from path analysis showed that the farmers were able to develop their potentials in growing the organic rice after attending the training and workshop to improve their knowledge, their skills and their attitude as well as their participations and some encouragements to make the farmers realize the importance of the learning media resulting in their acceptance in the organic rice growing methods. Moreover, it was because the social factor and the media that led to the change of the minds of the farmers through slow teaching and eventually the farmers in Chiang Rai province became interested and turned from growing rice with chemicals to growing rice with organic substances. And then perceived some ways for the marketing problems and this helped add value to the organic rice they grew and increase the prices of the rice through the organic rice growing methods. At the end, these would help solve their problems effectively. Not only the communities became strong and a very reliable foundation but also paved ways to the sustainable development of the country.
Key world: The potential of farmers, to grow organic rice, The Dharma
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com