แนวทางในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ธรณีสงฆ์อย่างมั่นคงของชุมชนในเขตสายไหม

Konjanard Charoensok

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างมั่นคงของชุมชนของชุมชนในเขตสายไหม มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาการใช้ประโยชน์ในที่ดินธรณีสงฆ์ของชุมชนเขตสายไหม 2) ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงของบริบทพื้นที่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ธรณีสงฆ์ในเขตสายไหม 3) ศึกษาสภาพปัญหาและรูปแบบปัจจุบันในการใช้ประโยชน์ที่ธรณีสงฆ์ในชุมชนเขตสายไหม 4) ศึกษาแนวทางความมั่นคงในการการใช้ประโยชน์ในที่ธรณีสงฆ์ของชุมชนในเขตสายไหม ผลการวิจัยพบว่า ความมั่นคงในการใช้ประโยชน์ในที่ดินธรณีสงฆ์ชุมชนต้องมีการบริหารจัดการร่วมกับทางวัด โดยมีแนวทางดังนี้ ประการแรก การสร้างความสามัคคีการตระหนักรูปของลักษณะพื้นที่ของคนในชุมชนว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์ทางวัดได้จัดสรรให้ใช้ประโยชน์สำหรับคนรายได้น้อยเพื่อการอยู่อาศัยดังนี้ต้องมีความตระหนักและเกิดการหวงแหนในการที่จะรักษาและช่วยกันพัฒนาพื้นที่แทนวัด  ประการสอง  การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกับทางวัดและทางชุมชนมากกว่าการอยู่ในฐานะของผู้เช่ากับผู้ให้เช่า ทั้งนี้โดยการสร้างกิจกรรมร่วมกันพิเศษที่นอกเหนือจากการจัดกิจกรรมตามประเพณีและทางชุมชนควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมของวัดอย่างสม่ำเสมอและมีทิศทางเดียวกันกับวัด ตามกำลังที่สามารถช่วยได้  ประการสาม  การสร้างคณะกรรมการของชุมชนในการทำหน้าที่บริหารจัดการการจัดเก็บผลประโยชน์แทนวัด และการทำการพัฒนาสภาพของชุมชนให้น่าอยู่และมีความสงบโดยไม่ต้องให้วัดเของที่ดินต้องมีปัญหาในการที่ต้องเข้ามาจัดการ  ประการสี่  ในการบริหารจัดการวัดและทางชุมชนต้องมีคณะกรรมการในการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ร่วมกัน  โดยการให้ทางชุมชนมีบทบาทในการเข้าไปแสดงความคิดเห็น หรือมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการของทางวัด หรือคณะกรรมการในการจัดการผลประโยชน์ของทางวัด เพื่อจะได้ช่วยเหลือและเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะรับทราบปัญหาและช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับการใช้ประโยชน์ในพื้นธรณีสงฆ์  ประการสุดท้าย  การสร้างกองทุนออมทรัพย์ เพื่อเช่าที่ดินกับทางวัดแบบยกแปลง ในรูปสหกรณ์ออมทรัพย์  การมีสัญญาเช่าที่ยาวขึ้นโดยพัฒนาเป็นสัญญาแบบนานปี 

 

คำสำคัญ   :  แนวทางการใช้ประโยชน์, การเช่าที่ดิน, ธรณีสงฆ์

 

ABSTRACT

The main objectives of this research are, 1) to study history of beneficial management of monastery land in Sai Mai District; 2) to study the transformation of society in monastery land in Sai Mai District; 3) to study model and problem of beneficial management of monastery land in Sai Mai District; 4) to study guidelines for sustainable beneficial management of monastery land in Sai Mai District.  

The result revealed that collaborations between temple and communities are essential in several reasons. First, both needs to realize and be accountable for their monastery land which is designated to low-income people for residential accommodation. They need to cooperate for property preservation and development.  Second, relationships between tenants and landlords should be regard as temple and householder. The relationship can be strengthening from temple activity participations and supports. Apart from festive occasion, some special activities might be applied between temple and householder. Third, it is advised to set community committee to manage property and its beneficial management and to develop monastery land for the well-beings of community on behalf of temple. Fourth, there should be community representative in temple committees for mutual benefits in order for community to be acknowledged on any problem and be able to support the solution. Last but not least, having saving fund for property rental, possibly in terms of saving and credit cooperative, would ease long-termed annual rent. 

 

Key Word: Model of beneficial, land Lease, monastery land,  


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com