แนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการใช้ทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชน ของบ้านกอไผ่โทน ตำบลกกดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย

Arisaravan niyomratjaloon

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลบริบท ทุนชุมชนและศักยภาพในบ้านกอไผ่โทน ตำบลกกดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลย และเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการใช้ทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชน ของบ้านกอไผ่โทน ตำบลกกดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเลยเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์ วิธีการที่ใช้ในการศึกษา การสำรวจ การลงพื้นที่สำรวจในหมู่บ้านและป่าชุมชนและการสัมภาษณ์ โดยผู้ศึกษาได้ทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนในเรื่องการทำฝายชะลอน้ำ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. หมู่บ้านกอไผ่โทนมีความเป็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เรียกว่า บ้านพรายโทน สมัยนั้นมีด้วยกัน 4 หลังคาเรือน อยู่ต่อมาคนอพยพมาอยู่ด้วยกัน 20 หลังคาเรือน เชื่อว่ามีกอไผ่อยู่หนึ่งกอที่มีพรายอาศัยอยู่หนึ่งตัว ในความเชื่อของคนสมัยนั้นเชื่อกันว่า ถ้าพรายตัวนี้ปรากฏตัวให้คนเห็นครั้งใดก็จะเกิดเหตุมีอันเป็นไปแก่ชาวบ้านในครั้งนั้น ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมมือกันหาวิธีกำจัดพรายตัวดังกล่าวนั้นเสียแล้วจึงมีความเป็นดีอยู่ดีขึ้น ส่วนกอไผ่กอนั้นชาวบ้านชาวบ้านได้พากันตัดและนำไม้ไปสร้างบ้านได้ 4 หลังคาเรือนแล้วต่อมาชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านพรายโทน มาเป็นบ้านกอไผ่โทน จนถึงปัจจุบัน

          2. ทุนชุมชนบ้านกอไผ่โทน มีดังนี้ ทุนมนุษย์ : ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายคน เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจักสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอไม้กวาด ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้า เป็นต้น ทุนสังคม : ประเพณีที่สำคัญของคนในหมู่บ้านเช่น บุญประจำปี บุญข้าวจี่ บุญสลากพัทธ์หรือบุญข้าวสาก บุญออกพรรษา คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะทำการอยู่ธรรมหรือมีหิ้งพระประจำบ้านแต่ละหลัง โดยจะไม่มีการนับถือผีปู่ผีย่าประจำบ้านเหมือนในอดีต ทุนกายภาพ : ภายในหมู่บ้านกอไผ่โทนมีทุนกายภาพหลายอย่าง เช่น สิ่งปลูกสร้าง อาทิ วัด โรงเรียน และโทรคมนาคม ทุนธรรมชาติ :ภายในพื้นที่ของหมู่บ้านกอไผ่โทน มีทุนธรรมชาติมากมาย อาทิ แหล่งน้ำที่สำคัญ ทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ สัตว์ป่า และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทุนการเงิน : เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านกอไผ่โทน เป็นพื้นที่เนินเขา มีป่าไม้ความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งน้ำล้อมรอบหลายแห่ง จึงทำให้คนในหมู่บ้านกอไผ่โทนมีการประกอบอาชีพทำไร่และทำสวนเป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง กล้วยน้ำว้า ข้าว เป็นต้น

          3. ข้อมูลกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน มีการจัดเวทีชุมชนเพื่อการจัดการฝายชะลอน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับนักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ผลสรุปว่ากลุ่มผู้นำชุมชนและชาวบ้านกอไผ่โทน มีความคิดเห็นตรงกันว่าควรมีการจัดสร้างฝายชะลอน้ำ

 

คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม, ทุนชุมชน, ฝายชะลอน้ำ

 

Abstract

This research aims to Contextual information Community funds and potential in Ban Phai, Tambol Kok District, Amphoe Mueang, Loei Province and to study ways to enhance participation in community fund management for community development. The tools and methods used in the study were the survey and the interview. Methods used in the survey, survey, village and community forest survey and interviews. The interviews were conducted with community leaders on water damming.

The study found that:

1. The village of Gopi Tone has been known since ancient times. There are 4 houses in the village, and later there are 20 people living together with migrants living in the village. One in the belief of the people are believed. If this elf appears to be seen at any time, it will happen to the villagers at that time. Later, the villagers have worked together to find a way to eliminate the ghost, then it is good to be. The villagers have cut the house and cut the wood to build a house 4 houses, then the villagers changed the name of the house. The house is a bamboo canopy. Up until now

2. Gao Pai Tone Community Funds are as follows: Human Capital: The local knowledge of local wisdom as well. Local wisdom on broom woven Social Capital: The important traditions of the people in the village, such as the merit of the year, Boon Chai Boon Laksa, or Boonsa Boon Boon, the people in the village are living in fair or have a shelf of each house. Physical Capital: In the village of Gopi Tone there are many physical capital such as buildings such as temples, schools and telecommunications. Natural Capital: within the area of Gopi Tone Village. There are many natural resources such as water resources. Financial Resources: Due to the large area of Gopi Tone Village A hill area There are plenty of forests. And there are many surrounding water sources. It makes people in the village of Gao Tone is a farmer and a garden, such as rubber, cassava, banana, rice, etc.

3. Community participation process in community water resources management. There is a community forum for the management of water dams by community participation. This is a learning exchange activity between community and community development students. The conclusion is that community leaders and villagers. There is a consistent opinion that the dam should be constructed.

 

Keywords: participation, community capital, water dam


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com