หลักสิทธิมนุษยชนตามหลักธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท

Phramaha Chiravat Kantawanฺnฺo

Abstract


บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “สิทธิมนุษยชนตามหลักธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท” นี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาหลักสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อประยุกต์หลักธรรมที่ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาใช้ในสังคมปัจจุบัน

ผลจากการศึกษาพบว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิต่าง ๆ ที่มนุษย์แต่ละคนได้มาเริ่ม ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และทุกคนสามารถปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนได้โดยชอบธรรม โดยมี ลักษณะเฉพาะดังนี้ 1) เป็นสิทธิที่ติดตัวมากับมนุษย์ (Inherent) 2) เป็นสิทธิที่เป็นสากล (Universal) 3) เป็นสิทธิที่ไม่อาจถ่ายโอนให้แก่กันได้ (Inalienable) และ 4) เป็นสิทธิที่ไม่ถูกแยก ออกจากกัน (Indivisible) สิทธิดังกล่าวนี้ มีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร ฉะนั้น จุดมุ่งหมายของสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นเพื่อ  ประโยชน์สุขความเสมอภาคของมวลมนุษยชาติในโลก สิทธิมนุษยชน นั้นสามารถแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1) สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ (Right to live) 2) สิทธิที่จะได้รับ การศึกษา (Right to education) 3) สิทธิที่จะทำงาน (Right to work) 4) สิทธิแห่งเสรีภาพ (Right of freedom) 5) สิทธิแห่งทรัพย์สิน (Right of property) และ 6) สิทธิแห่งสัญญา ประชาคม (Right of contact)  สิทธิมนุษยชนมีขอบเขตเพียง 2 ประการได้แก่ (1) สิทธิมนุษยชน โดยทั่วไป หมายถึงการปฏิบัติต่อกันด้วยความเป็นพี่เป็นน้องระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เป็นต้น (2) สิทธิมนุษยชนโดยธรรม   หมายถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างมนุษย์กับสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนว่าสรรพสิ่งนั้นล้วนเป็นพี่น้องกันกับมนุษย์ เพราะมนุษย์ได้พึ่งพาอาศัยในการดำรงชีวิตอยู่สิทธิมนุษยชนโดยธรรม จึงมีความหมายที่กว้างเช่น มนุษย์กับสัตว์เป็นต้นหลักธรรมที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นแนวปฏิบัติที่ถือได้ว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนหมู่มาก โดยไม่มี ประมาณไม่แบ่งแยกเชื้อชาติฐานะทางสังคมภาษาและศาสนา เช่น หลักศรัทธา ความเชื่อหลักกรรม หลักเบญจศีล และเบญจธรรมเป็นต้น จัดเป็นหลักการปฏิบัติที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์สุขแกผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่หลายระดับแห่งการเข้าถึงตามความรู้ความสามารถทางสติปัญญาของแต่ละบุคคล มีความสอดคล้อง กลมกลืนกัน สนับสนุนกันจากระดับต้นไปสู่่ระดับกลางหนุนเนื่องไปสู่ระดับสูงตามลำดับ ด้วยการปฏิบัติฝึกฝนพัฒนาตนตามหลักการก่อให้เกิดประโยชน์  3 อย่าง ได้แก่ 1) อัตตัตถประโยชน์ ประโยชน์ส่วนตน 2) ปรัตถประโยชน์ ประโยชน์ของผู้อื่นและ 3) อุภยัตถประโยชน์ ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย การประยุกต์หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาใช้ในสังคมปัจจุบัน สรุปลงใน (1) ทาน การเสียสละแบ่งปัน ซึ่งเป็นไปเพื่อลดละความตระหนี่ความมักมากเห็นแก่ตัวและศีลธรรม (เบญจศีลและเบญจธรรม) เป็นไปเพื่อควบคุมมิให้เกิดการประทุษร้ายเบียดเบียนกันทั้งทางตรงและทางอ้อม     (2) สมาธิเป็นไปเพื่อความสงบตั้งมั่นของจิตใจพร้อมจะทำการงานและ (3) ปัญญาเป็นไปเพื่อความรู้เห็นจริง  ซึ่งสภาวธรรมทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1) การใช้สิทธิเสรีภาพขั้นต้น (ทางกายและวาจา) มุ่งส่งเสริมความเป็นส่วนตัวและ 2) การใช้สิทธิเสรีภาพขั้นสูง (ปัญญา) มุ่งเน้นถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุผลด้วยเหตุนี้ หลักการทั้ง 2 จึงมีจุดนัดพบที่การใช้สิทธิเสรีภาพออกไป และเป็นการใช้สิทธิที่ถูกต้องเป็นสิทธิที่มีลักษณะชักชวนให้กระทำหรือให้พิสูจน์ตนเองด้วยตนเองเป็นสำคัญ  นอกจากนี้ เพื่อเป็นหลักประกันของการพิสูจน์ตนเองได้อย่างถูกต้อง คือ ไม่ก้าวก่ายไม่เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น

ในสังคมไทยจำต้องนำลักษณะทั้ง 2 มาปรับใช้ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักภราดรภาพ สิทธิ เสรีภาพในการอยู่ร่วมกัน 2) ด้านหลักความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นพลเมืองของชาติ สรุปทั้งสิทธิมนุษยชนและหลักธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาทล้วนมีการส่งเสริมให้ปฏิเสธความชั่ว สนับสนุนให้กระทำความดีต่อกัน ในฐานะที่เป็นมนุษย์หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทจึงอยู่ในฐานะสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาชีวิตมวลมนุษย์ให้เข้าถึงสันติสุขทั้งด้านส่วนตัวและส่วนรวมตลอดไป

 

คำสำคัญ : สิทธิ, มนุษยชน, คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท

 

Abstract

Education Human Rights in Theravada Buddhism has three objectives: 1) to study current human rights principles; 2) to study principles that promote human rights. Catechesis in Theravada Buddhism and 3) to apply the doctrine. Promote human rights in the present society.

The results of the study found that human rights mean the rights that every human being has. From birth to death and everyone is able to obey human rights justified by the following characteristics: 1) Inherent 2) Universal 3.) The rights that cannot be transferred to each other. (Inalienable) and 4) are indivisible. It is universal and eternal. Therefore, the aim of human rights is to Exploiting enjoyed equality of mankind in the world of human rights can be divided send  6 types  The  1) the right to life, the (Right to live) 2) the right to be.  Educated (right to education) 3) right to work (right to work) 4) the right of freedom (right of freedom) 5) the rights of the Securities goods (right of property) and 6). The right of contact Rights of the human person is limited in two respects: (1) Human rights generally refer to human rights. Contact the together with the seniors as the am the between the human to human the function (2) rights by unfairly. Means to treat the well between the human and the things that the world as if it’s the creation of an elder as well as humans. Because human beings are dependent on the right to life, human rights are justified. It has a broad meaning. Human beings and animals, etc. Human rights principles.

In Theravada Buddhism, It is a practice that holds that. It is for the enjoyment of the happiness of many people, without any discrimination, race, social status, language and religion, such as beliefs, beliefs, main principles, virtues. And dharma etc. It is a guiding principle for the benefit of the practitioner. There are several levels.

Access to knowledge of individual intellectual capacities there is harmonious support from the beginning to the middle to the high level, respectively. The with the Department of rain developed according to the principles benefit 3  less than the 1) ratio continued if the benefits. Personal benefits 2) Prathat Pradit Benefit of others and 3) Utilization of benefits. Benefit both sides. Principles of Theravada Buddhism. Promoting human rights in society is currently summarized in (1) sharing sacrificial devotion. This is to relieve the miserliness, insecurity, and morality. (Benjali and Prajadin) are to control neither direct nor indirect harassment. (2) Meditation is for the peace of mind. Doing the work and (3) Knowing the truth. There are two types of morality: 1) the exercise of fundamental freedoms (Verbally and physically) Mugabe African strengthen the post own and 2) use freedom advanced (in) Mugabe priority of the practice to achieve speed. As a result, both of these principles have been met at the exercise of liberty. And it is the right exercise of right as the right to be persuasive, to act or to prove oneself self-important. In addition, to guarantee self-correctness is do not walk, do not persecute yourself and others.

In Thai society, the two characteristics must be applied in two aspects: 1) the fraternity of the right to freedom of the common. 2) Equality as a national citizen Summarize both human rights and the principles. In Theravada Buddhism, there is a rejection of evil. Supportive of each other as a human being, Theravada Buddhism is in the position to promote, promote and develop human life in order to reach both personal and spiritual peace. Forever.

 

Keywords: The Human rights, Therevãda Buddhist Doctrine


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com