เครือข่ายการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม รูปแบบ กระบวนการ และการจัดการของคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด

ธันนิกานต์ สูญสิ้นภัย ชยันตราคม

Abstract


บทคัดย่อ

                การวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเครือข่ายการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านรูปแบบ กระบวนการ และการจัดการของคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทของเครือข่ายการพัฒนาดังกล่าว รูปแบบการจัดการที่เครือข่ายการพัฒนานั้นดำเนินการอยู่ และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็นเชิงผสมผสาน ได้แก่ การศึกษาเอกสาร การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างรวมจำนวน 400 คน จากพื้นที่เก็บข้อมูล 6 พื้นที่ในจังหวัดร้อยเอ็ด และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 14 คน ผลการศึกษาพบว่าวัดเป็นศูนย์รวมของประชาชนโดยไม่จำกัดแค่กิจกรรมทางศาสนา แต่ยังรวมถึงการเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ประชาชนจึงส่งเสริมบทบาทด้านการพัฒนาและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของคณะสงฆ์ โดยมีสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดเป็นผู้ควบคุมดูแลให้คณะสงฆ์ดำเนินหลักกิจการ ซึ่งพบว่ามีกระบวนการสำคัญด้วยการให้พระนิสิตร่วมทำกิจกรรมการพัฒนากับชุมชน การพัฒนาห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ในวัด และการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เครือข่ายนี้อาจได้รับการพัฒนาด้วยการยกระดับสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ การขยายความร่วมมือกับเครือข่ายภายนอก และส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สู่สังคม

คำสำคัญ: สิ่งแวดล้อม, สังคม, เครือข่ายการพัฒนา

Abstract

This research examines the environment and social development networks of Roi-Ed Province Sangha focusing on the pattern, the process, and the management. It aims to study the people’s expectation toward the network’s roles, the managing pattern, and ways to prosper the environment and social development networks in accordance with Buddhism in Thailand. The methodologies employed were documentary research, quantitative research with a sampling group of 400 persons from 6 main areas in Roi-Ed, and qualitative research with in-depth interview and group discussion of 14 persons. The results reveal that Buddhist temples are the center for people not only as a place for religious activities, but also as a place for learning to develop the society. The people then support the network’s roles and participate in monks’ activities. The Ecclesiastical Provincial Governor Office is found to have its role in controlling monks to do their duties; for instance, the process of having student monks doing developing activities with the community, establishing library and learning center in temples, and having the community to join the activities. The network is suggested to promote its learning center to become a learning community, to expand the cooperation with external network, and to advertise the activities to the society.

Keywords: Environment, Social, and Development Network


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com