แนวทางการแก้ไขปัญหาการบวช: การปะทะกันระหว่างคุณค่าเชิงวัฒนธรรมไทย กับคุณค่าใหม่ในสังคมปัจจุบัน Solution Problems of ordination: clashes between Thai cultural values With new values in today's society
Abstract
ค่านิยมว่าด้วยการบวชนาคหรือบวชพระในสังคมไทยมีลักษณะที่เปลี่ยนไป การบวชจากเดิมคือ การสละแล้วซึ่งทางโลก มุ่งสู่คุณค่าในทางหลักธรรม เพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และมุ่งสู่ความคาดหวังอันสูงสุดคือ การเข้าถึงพระนิพพานอันเป็นจุดหมายปลายทางของการบวช แต่การบวชในปัจจุบันกลับกลายเป็นเรื่องของคุณค่าและหน้าที่อันเป็นค่านิยมสำคัญในสังคมไทยคือ ค่านิยมว่าด้วยการเป็น “ลูกที่ดี” และ การเป็น “พ่อแม่ที่ดี”
คุณค่าว่าด้วยการเป็นลูกที่ดี เกิดขึ้นจากค่านิยมที่เชื่อกันว่า การบวชเป็นการสร้างบุญที่ได้กุศลมาก เป็นโอกาสอันดีที่ลูกชายจะตอบแทนพระคุณบิดามารดา โดยเชื่อว่า “ลูกชายที่บวชเรียนจะสามารถช่วยให้บิดามารดาได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์” ดังนั้น การบวชจึงเป็นเรื่องการตอบแทนคุณพ่อแม่ ลูกที่ประสงค์บวช (หรือแม้แต่ถูกบังคับ) ให้พ่อแม่จึงมีคุณค่ากับการเป็นลูกกตัญญู ในปัจจุบันเราจึงพบเห็นการบวชตามประเพณี หรือการบวชตามคุณค่าดังกล่าวนี้เป็นค่านิยมหลักของคนในสังคมไทย ส่วนคุณค่าการเป็น “พ่อแม่ที่ดี” หากลูกคนใดประสงค์บวชให้แล้ว จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อเตรียมการบวชให้ลูกอย่างดี หรือเรียกภาษาชาวบ้านๆ ว่า “ทุ่มทุน” ไม่ว่าจะเงินทอง มหรสพต่างๆ อย่างครบครัน
อันที่จริงแล้ว การเป็นลูกที่ดี การเป็นพ่อแม่ที่ดี และการเป็นศาสนทายาทที่ดี ควรต้องมีกระบวนการเตรียมความพร้อมในการเข้ามาบวช 3 ด้าน คือ ด้านผู้มาขอบวช ด้านพระอุปัชฌาย์ ด้านพระอาจารย์
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com