แนวทางการพัฒนาศักยภาพเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย Guidelines for Potential Development for Self-Reliance of the Elders in Chiang Rai

Kornchanok Sanitwong

Abstract


การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงสถานการณ์ แนวทางและการพัฒนาศักยภาพเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในบริบทสังคมไทย เป็นการศึกษาเชิงผสมผสาน (Mix Methods) และมุ่งเน้นปฏิบัติการเพื่อพัฒนา (Action Research & Development) โดยการน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในรัชกาลที่ 9 รวมทั้งหลักและกระบวนการพัฒนาชุมชนมาเป็นแนวทางการพัฒนา โดยมีผลการศึกษาดังนี้

1. ในด้านสถานการณ์ของผู้สูงอายุพบว่า ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะตำบลสันติสุข อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (มีจำนวนประชากรร้อยละ 18.22 ที่อยู่ในวัยผู้สูงอายุ) แต่อย่างไรก็ตามช่วงอายุของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 60-70 ปี ซึ่งถือว่า เป็นกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นและเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็ง อีกทั้งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพเพื่อการแก้ไขปัญหาการดำรงอยู่ โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัยและด้านการประกอบอาชีพเสริม แต่ในขณะเดียวกันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพและบางส่วนมีภาวะหนี้สินซึ่งอาจจะส่งผลในด้านการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพฯ อย่างสม่ำเสมอ

2. ดังนั้น แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งตนเองในบริบทสังคมไทย โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้ ความเข้าใจบนพื้นฐานนววิถี และควรอยู่บนพื้นฐานคติความเชื่อที่ว่า ผู้สูงอายุไม่ใช่ “ภาระ” แต่เป็น “พลัง” ด้วยเหตุดังกล่าวในด้านแนวทางการพัฒนาศักยภาพเพื่อการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุจึงต้องมีการวางแผนที่สะท้อนถึงกระบวนการพัฒนาที่เข้าใจ (ศึกษา) เข้าถึง (วิเคราะห์) แล้วจึงพัฒนาและการพัฒนาจะต้องเกิดจากการ “ระเบิดจากภายใน” (เกิดจากสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย) ตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในรัชกาลที่ 9  และการจัดการที่สำคัญควรมุ่งเน้นในด้านการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมโดยมีทุนทางสังคมทั้งภายใน (ตัวผู้สูงอายุ, ศักยภาพผู้สูงอายุ, ทรัพยากรในท้องถิ่น) และภายนอก(หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) เป็นกลไกสำคัญ

3. ผลการพัฒนาศักยภาพพบว่า ผู้สูงอายุเกิดการพัฒนาศักยภาพเพื่อการพึ่งตนเองบนพื้นฐานนววิถีในเบื้องต้น โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัยและการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันส่งผลให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนอีกทั้งผู้สูงอายุบางรายสามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอาชีพเสริมเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com