การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ The participation of the public in the conservation of forest resources
Abstract
ปัญหาการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน เกิดจากปัญหาด้านการเมือง ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านสังคม วัฒนธรรม ปัญหาที่ตัวบุคคลอันได้แก่ บทบาทของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำเนินงานตามนโยบายโดยไม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งระบบอุปถัมภ์ทำให้ผู้ที่ให้การอุปถัมภ์จะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ ซึ่งปัญหาต่าง ๆ จะมีความเกี่ยวเนื่องกันเป็นระบบ ก่อให้เกิดอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในภาพรวม ซึ่งการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนจะเข้าร่วมในขั้นตอนการปฏิบัติมากกว่าเข้าร่วมในขั้นตอนการค้นหาปัญหาและตัดสินใจ ขั้นตอนการวางแผน และร่วมประเมินผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพียงการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่
ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามาก มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าว่าไม่มีป่าไม้ สัตว์ทุกชนิดจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะในระบบนิเวศน์นั้น พืชเป็นผู้ผลิตอาหารและสัตว์เป็นผู้บริโภค หากว่าไม่มีพืช สัตว์ต้องอดอาหารตายอย่างแน่นอน ป่ามีคุณค่าอนันต์และมีความสำคัญมากที่ได้ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งชาติ ทั้งทางตรงและทางอ้อมอเนกประการ โดยเฉพาะประโยชน์ทางอ้อมนั้น น้อยคนนักที่จะเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำลายป่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผลทางอ้อม เช่น การเกิดน้ำท่วม ความแห้งแล้ง เป็นต้น ประโยชน์ของป่าไม้นั้นมีอีกมากมาย
การดำเนินการตามพระราชดำริต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แล้วย่อมสามารถที่จะแก้ปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ได้ หากมีการนำแนวทางหรือหลักการของแนวพระราชดำริไปใช้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในจุดที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน และให้มีการปฏิบัติต่อเนื่อง ตลอดจนให้มีการติดตามประเมินผล สำหรับงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบแบบแผนและต้องใช้เวลา ตลอดทั้งเทคโนโลยี รวมทั้งงบประมาณและเจ้าหน้าที่ดำเนินการแก้ไข พัฒนาแล้วยังต้องพึ่งพาและแรงสนับสนุนความร่วมมือ ความเข้าใจของราษฎรที่อยู่ใกล้ชิดทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งราษฎรจะต้องเห็นรู้คุณค่าFull Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170
โทรศัพท์ +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โทรสาร +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ +66(0) 8 1268 1128
http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com