การสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมด้วยหลักพุทธธรรม Cooperation on Crime Prevention and Suppression with Buddha Dharma

Teerudd Tipnoppanon

Abstract


ความร่วมมือมีได้ทั้งความร่วมมือระหว่างรัฐ ความร่วมมือระหว่างองค์กร และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ด้านความร่วมมือระหว่างรัฐเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล โดยความร่วมมือในลักษณะนี้จะเป็นแบบทวิภาคี มีแนวปฏิบัติการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ คือ การชี้ให้สมาชิกเห็นประโยชน์ร่วมกัน การผูกมิตรไมตรีต่อกัน การให้คำแนะนำ การสื่อสารที่ดี และการเพิ่มความใกล้ชิด เพื่อเป็นการป้องกันอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น เพราะการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย และความปลอดภัยสาธารณะในหลายประเทศ สาเหตุของอาชญากรรมเรียกว่าปัจจัยความเสี่ยง มีผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและชุมชน ครอบครัวของประชาชนในประเทศ จึงต้องเน้นการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมด้วยเรื่องของความร่วมมือของทุกภาคส่วน และในหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือที่สำคัญ คือ สังคหวัตถุ ซึ่งเป็นหลักคุณธรรมในทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การพูดจาไพเราะ การบำเพ็ญประโยชน์ การทำตัวให้เป็นเกลอ อันเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยวให้เกิดความร่วมมือกันได้ในเบื้องต้น ที่จะสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นกับทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com