แนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การ สร้างสังคมอยู่ดีมีสุข พอมี พอกิน พอใช้

Kornchanok Sanitwong

Abstract


สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ผู้ศึกษามีความสนใจที่จะศึกษารูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสังคมอยู่ดีมีสุข “พอมี” “พอกิน” “พอใช้” ด้วยการศึกษาแนวทางเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาชุมชนที่ได้น้อมนำแนวพระราชดำรัสหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการพัฒนาชุมชนซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

ผลการศึกษาพบว่า หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรของพระองค์นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2502 เป็นต้นมา เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคงด้วยหลักการอยู่อย่างพอเพียง ซึ่งจะเป็นแนวทางทำให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง จวบจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยจึงได้อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวนโยบายในการพัฒนาประเทศ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น รัฐบาลควรมีการกระตุ้นและมุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างสังคมอยู่ดีมีสุขอย่างจริงจังใน 2 ประการได้แก่ ประการแรกคือ หลักการพัฒนาชุมชน ได้แก่ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ระเบิดจากข้างใน ปลูกจิตสำนึก เน้นให้พึ่งตนเองได้ และหลักการปฏิบัติอย่างพอเพียง ได้แก่ คำนึงถึงภูมิสังคม ทำตามลำดับขั้น ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด แก้ปัญหาจากจุดเล็ก ไม่ติดตำรา ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ยึดหลักการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหา-ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยมาโดยตลอด จึงจะทำให้ประชาชนรอดพ้นจากปัญหาภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นและสามารถพึ่งตนเองได้ซึ่งจะนำไปสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com