การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคประเทศไทย 4.0 Buddhist Propagation in Thailand 4.0


Abstract


ประเทศไทยได้กำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศโดยเริ่มจาก “ประเทศไทย 1.0” เน้นการเกษตรเป็นหลัก เช่น ผลิตและขาย พืชไร่ พืชสวน หรือการเกษตรเบื้องต้นเป็นหลัก ต่อมาเป็น “ประเทศไทย 2.0” เน้นอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและขายรองเท้า  เครื่องหนัง เครื่องดื่ม  เครื่องประดับ เครื่องเขียน กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และในปี พ.ศ.2560 จัดอยู่ในยุคที่สามเรียกว่า “ประเทศไทย 3.0” เป็นยุคอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น การผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นน้ำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น และอีกไม่กี่ปี ประเทศไทย 4.0 ซึ่งรัฐบาลโดยการนำของพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดทิศทางในการบริหารประเทศ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคประเทศไทย 4.0 จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของพระสงฆ์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของพุทธบริษัททั้ง 4 ว่าจะสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบันที่จะถึงนี้ได้อย่างไร พระสงฆ์ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องยึดอุดมการณ์ หลักการ  และวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังต้องให้ศาสตร์สมัยใหม่ เช่น หลักการบริหารจัดการแบบ PDCA  ของเดมมิ่ง (Deming) และหลักการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ คือหลักอิทธิบาท 4  เมื่อนำหลักการของพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่เชื่อได้ว่าพระพุทธศาสนาจะมั่นคงสถาพรตลอดกาลนาน


Keywords


ประเทศไทย 4.0, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ศาสตร์สมัยใหม่

Full Text:

PDF

References


กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย.

แก้ว ชิดตะขบ. (2553). ประวัติความสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ไทยรัฐออนไลน์ ทีมเศรษฐกิจ. ประเทศไทย 4.0โมเดลเศรษฐกิจใหม่.สืบค้นข้อมูลจาก

https://www.thairath.co.th.

ธรรมะไทย. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก. สืบค้นข้อมูลจาก http://www. dhammathai.org/index.

พระครูโสภณปริยัติสุธี. (2546). พุทธศาสนาเชิงรุกด้านการเผยแผ่. เชียงใหม่: บุญนิธิจันทร์ตอง ไชยะวุฑฒิกุล.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2546). พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตตฺโต).(2548). พุทธวิธีการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรพันธ์ ธีรกิตติ. (2555).พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2551). ธรรมะประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: กัลยาณมิตร .

โพสต์ทูเดย์. ข่าวธรรมะ-จิตใจ. สืบค้นข้อมูลจาก https://www.posttoday.com

ยอดยุทธ มังกรหยก. (2556). ประวัติพระพุทธศาสนา. สืบค้นข้อมูลจาก http:// www.yodyut.com.

สุดปฐพี เวียงสี. ประเทศไทยในยุค 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจแนวใหม่. สืบค้นข้อมูลจาก http://www.bangkokbanksme.com.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นข้อมูลจากhttp://www.manager.co.th.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.