คุณค่าของการสวดมนต์ที่มีต่อพุทธศาสนิกชนไทย The Value of Chanting for Thai Buddhists
Abstract
การสวดมนต์ของพุทธศาสนิกชนไทยนั้น มีมาตั้งแต่ครั้งในสมัยพุทธกาล หรืออีกนัยหนึ่งคือคาถาประกอบพิธีกรรม เพื่อความทรงจำพระเวทหรือเพื่อเป็นสิริมงคล ในขั้นต้นสวดสาธยายเพื่อความทรงจำพระพุทธวจนะเท่านั้น เมื่อชาวบ้านได้ยินพระสงฆ์สวดสาธยายก็พากันอนุโมทนาและยินดี จึงได้ถือกันว่าการได้ยินพระสงฆ์สวดสาธยายเช่นนั้นเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง ในสมัยโบราณยังไม่มีคัมภีร์ที่จะได้จดจารึก จึงต้องท่องจำกันด้วยวาจาต่อกันมา จำหลักคำสอนที่เรียกว่า มุขปาฐะ คือการท่องจำให้ขึ้นใจจนติดปาก เมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแล้ว พระสงฆ์ก็ใช้สวดสาธยายพระพุทธวจนะนั้นตามสมควรแก่เหตุการณ์ ซึ่งในปัจจุบันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชน จะต้องปฏิบัติโดยการสวดมนต์ได้อย่างถูกต้อง จึงจะถือว่าเป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง และเชื่อกันว่าการสวดมนต์ก็คือคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระสงฆ์คัดเลือกมาจากพระไตรปิฎกซึ่งเป็นพุทธพจน์ จึงได้เรียกว่า “พุทธมนต์” มาจนถึงปัจจุบันนี้
Keywords
Full Text:
PDFReferences
ธรรมทาส พานิช. (2541). ไทยศรีวิชัยแพร่พุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อรุณวิทยา.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรฏฐเตปิฎกํ. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2506). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2534). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฐกถา. กรุงเทพฯ: วิญญาณ.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2543). ปกรณวิเสสนะภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพฯ: วิญญาณ.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2514). ตำนานปริตร. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2533). พระไตรปิฏกฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
Refbacks
- There are currently no refbacks.