ทวารวดีต้นกำเนิดแห่งพุทธศิลปะของประเทศไทย Dvaravati the origin of Buddhist art of Thailand

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ

Abstract


ทความนี้แสดงถึงความรู้เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดี โดยได้ปะติดปะต่อขึ้นจากผลงานการค้นคว้าของผู้สนใจและนักวิชาการเพื่อแสดงให้เห็นหลักฐานความเป็นมาและร่องรอยวัฒนธรรมทวารวดี ตลอดจนพุทธศิลปะของประเทศไทยที่ล้วนแล้วได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ทวารวดีเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 16 เป็นชื่อที่ใช้เรียกอาณาจักรทางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์จากอินเดีย เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีความเจริญอยู่กันอย่างหนาแน่น นักวิชาการเชื่อว่ามี 3 เมือง ที่เป็นศูนย์กลาง คือเมืองนครปฐม คูเมืองและอู่ทอง โดยหลวงจีนเฮียนจัง (ยวนฉ่าง) และหลวงจีนอี้จิง หรือ พระภิกษุอีจิ๋น ได้กล่าวไว้ในจดหมายเหตุการณ์เดินทางของท่านว่า มีอาณาจักรอันใหญ่โตอาณาจักรหนึ่ง อยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร (ประเทศพม่า) และอีสานปุระ (ประเทศกัมพูชา) ชื่อโถโลโปติ (ทวารวดี) นักโบราณคดีได้สำรวจพบโบราณสถาน และพระพุทธรูป ที่สร้างตามแบบฝีมือช่างในสมัยราชวงศ์คุปตะของอินเดีย (พ.ศ.860 – 1150) เป็นจำนวนมากที่นครปฐม  และแถบเมืองที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้แพร่ขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ จนถึงเมืองนครราชสีมา และเมืองบุรีรัมย์ ได้พบเหรียญเงินที่ด้านหนึ่งมีข้อความจารึกเป็นภาษาสันสกฤตอ่านได้ว่าศรีทวารวดี ศวรปุณยะ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี ที่เมืองนครปฐม พบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและที่เมืองโบราณบ้านคูเมืองด้วย

วัฒนธรรมทวารวดี นับเป็นวัฒนธรรมแรกสุด จึงอาจกล่าวได้ว่าศิลปะทวารวดี คือ “ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในสยามประเทศ”(MGR, Online) ถือเป็นต้นกำเนิดแห่งอารยธรรมที่เป็นพื้นฐานของอารยธรรมไทยเกือบทั้งหมด นอกจากนี้ยังถือเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ จนเป็นศาสนาประจำประเทศในที่สุด


Keywords


ทวารวดี, พุทธศิลป์, โบราณคดี

Full Text:

PDF

References


กรมศิลปากร. (2509). โบราณวิทยาเมืองอู่ทอง.กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ชะเอม แก้วคล้าย. (2534). ศรีทวารวดี . ศิลปากร, 34(2), 58-68.

เพ็ญพะนอ พ่วงแพ. (2560).ร่องรอยหลักฐานสมัยทวารวดีในเมืองนครปฐม. วารสารอินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ, 12(1), 207-235.

นลินี เหมนิธิ. (2514). นำชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

ณัฐพล บุญอุทิศ. (2546). พระมหาเจดีย์และพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เดวิด เค วัยอาจ. (2562). ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป (Thailand: A Short History). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬา.

ตราศิลป์ ศิลปะบรรเลง. (2530). การศึกษาเครื่องประดับทวารวดี ภาคกลาง(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2528). ความเข้าใจศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ธิดา สาระยา. (2532). (ศรี) ทวารวดี:ประวัติศาสตร์ยุคต้นของสยามประเทศ.

กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์.

ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2559). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

บังอร ปิยะพันธุ์. (2537). ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2558). ศิลปะอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา กาญจนาคม. (2556). โบราณคดีเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

สันติ เล็กสุขุม. (2557). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

วรนัย พงศาชลากร. พระพุทธเจ้าประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรมตอน “ปฐมเทศนา”. สืบค้น 23 สิงหาคม 63 จาก

http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2018/07/29/entry-1

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2562). ศิลปวัฒนธรรมทวารวดี. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_36408

MGR Online. (2552). “ศิลปะทวารวดี” ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ใน สยามประเทศ

สืบค้น 7 พฤษภาคม 2564 จาก

https://mgronline.com/travel/detail/9520000090365

พระพุทธรูปนอนหินทราบปางสีหไสยาสน์. สืบค้น 23 สิงหาคม.2563.จาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/travel_top/detail/5/data.html

พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ หลวงพ่อประทานพร. สืบค้น 23 สิงหาคม.2563.จาก

https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1097685

เหรียญเงิน รูปหม้อน้ำ. สืบค้น 23 สิงหาคม 2563 จาก

https://www.matichon.co.th/prachachuen/daily-column/news_1088675

Ajanta &Ellora,caves of Ancient India.Published by Mittal Publications. Printed at PrithaOffsets (P)Ltd.

ElloraAjanta.MeghaPublication,Guide Book with Map&Colour Pictures of Ellora Ajanta a world heritage.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.