แนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้การเป็นพลเมืองของนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ๓. เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จิตสำนึกความเป็นพลเมืองตามพระพุทธศาสนาในสังคมไทย โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ขอบเขตของการวิจัย คือพื้นที่ในจังหวัดแพร่และเชียงรายประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเชิงเอกสารปฐมภูมิ (Documentary Research) จำนวน ๓ รูป กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ (In-depth Interviews) จำนวน ๒ รูปและการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion) จำนวน ๙ รูป/คนและเครื่องมือในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups Discussion)
ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาแยกผลการวิจัยดังนี้ในเชิงสังคมศาสตร์ พบว่า พลเมืองมีสองลักษณะคือฐานะของประชาชนมีหน้าที่เสียภาษีและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองและบทบาทในทางการเมือง การมีสิทธิไปเลือกตั้ง และมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่างๆตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย ส่วนในภาคสังคม พบว่า เป็นแนวคิดและรูปแบบมาจากการจัดการศึกษาของชาติโดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๒๗ วรรคสอง เป็นแม่บทผ่านหลักสูตรสู่ผู้เรียน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นการต่อยอดการเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ขัดเกลาพฤติกรรมของเยาวชนไทยให้เป็น “คนดี” และเป็นลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนและประชาชนตรงกับค่านิยมหลัก ๑๒ ประการของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)
แนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองตามพระพุทธศาสนาของนักวิชาการศาสนาจากการศึกษาเอกสาร พบว่า เป็นแนวคิดที่เป็นทิศทางเดียวกัน คือ แนวคิดจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนรูปแบบเป็นกิจกรรมการฝึกปฏิบัติตามหลักอานาปานสติและหลักไตรสิกขา
แนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองตามพระพุทธศาสนาของนักวิชาการศาสนา าการสัมภาษณ์ มีความสอดคล้องกัน พบว่า มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือ ไตรสิกขา หลักศรัทธา และการจัดการศึกษาของชาติ รูปแบบ พบว่า ใช้การปฏิบัติตามการจัดกิจกรรม ๓ ด้าน คือ ด้านกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และการเรียนรู้ ด้านความคิด (Cognitive Domain) ,ด้านอารมณ์ (Affective Domain) ด้านการปฏิบัติ (Psychomtor Domain) และกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงด้วยการเคารพตนเอง เคารพสถานที่ เคารพอาชีพ การอยู่รอด การอยู่ได้ และการอยู่ดี ส่วนแนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า เป็นหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ สังคหวัตถุ ๔ คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานตัดตา และพรหมวิหาร ๔
แนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาภาคเหนือทางศาสนจักร พบว่า เป็นแนวคิดของการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์และการจัดการศึกษาของชาติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒ “มาตรา ๒๗ วรรคสอง จัดการศึกษาที่แบ่งตามประเภทของการปฏิบัติ ๓ ระดับ คือ ปริยัติสัจจธรรม ปฏิบัติสัจจธรรม และปฏิเวชสัจจธรรม ส่วนรูปแบบ พบว่า มาจากตัวหลักสูตรที่บูรณาการสู่กระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียนเน้นการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนเป็นสำคัญ
แนวคิดและรูปแบบการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา พบว่า มีแนวคิดมาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ พรหมวิหาร ๔ และ หลักธรรมไตรสิกขา
รูปแบบ คือ การปฏิบัติ นอกจากนั้น พบว่า มีแนวคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจากหลักสูตร จากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จากแนวคิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและแนวคิดตามประชาธิปไตยผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่น รูปแบบเน้นการปฏิบัติตามหลักสูตร แผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนของโรงเรียน ปฏิบัติตามหลักพระวินัยบัญญัติ คือ หลักศีล ๑๐ และ หลักเสขิยวัตร
The objectives of this study were 1) to study the ideas and citizens learning management model according to Buddhism, 2) to study the ideas and model of learning support of the citizenship of Buddhist scholar in Thai society and 3) to synthetic the conscious knowledge of citizenship according to Buddhism in Thai society. บ This study was a qualitative research. The areas of research were in Phrae Province and Chieng Rai Province. The populations and sample was used documentary research. The data were collected by using in-depth interviews about 2 persons and the focus groups discussion about ๙ persons. The researcher team was gather data on the essence of the interview, and focus group discussion and then content analyzed.
The results of the research were found as follows;
The ideas and citizens learning management model according to Buddhism were as follows; in social science aspect was found that the citizen had 2 kinds such as the status of people who had duty for paying the tax, obey the law and political role, election vote and express and opinion according to constitutional law in democracy system. In part of society was found that it was ideas and model that had come from national education management that had National Education Act volume 2542 A.D., code 27, second chapter that was original by pass curriculum to learner ๘ learning essence groups. It was further studied for being humanity perfectly, behavior refine of youth to become good person and had good characteristics of the student and people on value principle 12 aspects of National Council for Peace and Order (NCPO).
In part of idea and model of learning support of the citizenship according to Buddhism of Buddhist scholar was found that it was same idea direction namely this idea come from the Buddhism. In part of model was the activities of practice according to Anapanasati principle and Trisikkha priciple, (Threefold learning principle),
The ideas and model of learning support the citizenship according to Buddhism from interview of Buddhist scholar was found that it had come from the Buddhist principle namely Trisikkha principle, Saddha principle and the National Education Act model was found that it had practiced as following three activities as body aspect, emotion aspect, social aspect correspond learning step, cognitive domain, affective domain and psychomotor domain and learning activities on the truth by self respectively, place respectively, occupation respectively, subsistence and well-being. In part of ideas and learning model of citizenship according to Buddhism was found that it was Trisikkha principle namely Sila, Samadhi, Pana and the Four Samgahavatthu principle namely Dana, Piyavaca, Atthacariya and Samanattata and the four Bhammavihara principle.
The ideas and model of Phrapariyattidhamma School groups in the North zone group on the religious was found that it was the idea way of Samgha education management and education management system as following the National Education Act on ๒๕๔๒ A.D., code ๒๗, second chapter by the educational management divided into three levels namely; Pariyattisaccadhamma, Patipattisaccadhamma and Pativedhsaccadhamma. In part of the model was found that it has come from the curriculum that had integrated to learning process in the class room by emphasized the important child center.
The ideas and model of citizenship of Buddhakosaividyala School was found that it had come from the Buddhist principles namely; the four Bhammavihara principles and the Trisikkha principle.
The model was the practicing was found that it had come from the idea of the
Somdejpratheprattanarajjasudasayammarajjakumare, from the local wisdom and from idea as followed the democratic system by passing the local wisdom, the model had emphasized the education curriculum, learner qualitative development plan and curriculum support activities by emphasized the learner of that school practiced according to the Vinayo principle namely; the ten Sila principle and Sekhiyavatara principle.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.