การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในจังหวัดแพร่

พระครูภาวนา เจติยานุกิจ

Abstract


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษาศักยภาพของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่ ๒. เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ ๓. เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าอาวาส พระสงฆ์ หรือตัวแทนเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชน ตลอดถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน ๑๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร  การสัมภาษณ์ การจัดกลุ่มสนทนา โดยผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน ๑๕๐ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ๑. ศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ พบว่า มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคงความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีวัฒนธรรมที่สืบสานกันมาอย่างยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีเส้นทางการคมนาคมที่ตั้งอยู่บนเส้นทางหลัก ถนนหนทางสะดวกสบาย ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวจะทำในรูปแบบของคณะกรรมการชุมชนในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชน ความพร้อมในการรับรองนักท่องเที่ยว มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

          ๒. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ พบว่า ภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณ วางแผนกำหนดนโยบายการท่องเที่ยว ร่วมปรึกษาหารือในการจัดกิจกรรมของวัดและชุมชน มีส่วนร่วมในการตัดสินแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในชุมชนและจังหวัด และที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวพึงพอใจและบอกต่อๆ กันไป

          ๓. พัฒนาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่                    ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการท่องเที่ยวร่วมกับชุมชน การพัฒนาเชิงพื้นที่ อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว  พัฒนาการท่องเที่ยวการส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างกระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อให้ชุมชนและนักท่องเที่ยวมีความตระหนักรู้ในคุณค่าความงดงามของวัฒนธรรม

The purposes of this research were : 1. to study the efficiency of temple, which are the cultural tourist attraction. 2. To study the role of subdistrict administrative organization to boost the cultural tourism of Phrae province.        3. to develop the cooperation of subdistrict administrative organization to boost the cultural tourism of Phrae province.

The 10 subjects were the abbots, monks ,representatives of private and government and tourist officers. The research instruments were content analysis, interview, focus group by community steakholders. The data were analyzed by describing,  mean and standard. The data were collected by using satisfaction questionnaire towards cultural tourism.

 The results showed that:

1. studying the efficiency of temple, which are the cultural tourist attraction  found that there was historical value and had their own identity of community. The tourist attraction had simple way of life as well.                            The transportation was comfortable. That why the tourists came here very often. The tourist administration aspect had the community committees who were ready to welcome the tourists.There were basic facilities for attract               the tourists.

2. Studying the role  of subdistrict administrative organization to boost the cultural tourism of Phrae province found that the private and government supported the budgets and planed the tourist policies.They also participated temple and community activities. They also solved the problems of community together.They developed this place to be the cultural tourist attraction.

3. Developing the cooperation of subdistrict administrative organization to boost the cultural tourism of Phrae province found that  the integration              of tourism and community ,the basic facilities were important. Cultural exchanging in community is also important for making the tourists realize the value of culture.


Keywords


การมีส่วนร่วม, การส่งเสริม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.