ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรม พระพุทธศาสนาล้านนา เรื่องมหาวิบาก

นวกฤด เหงกระโทก

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา เรื่องมหาวิบาก (๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา เรื่องมหาวิบาก (๓) เพื่อศึกษาคุณค่าของวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา เรื่องมหาวิบาก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาในเอกสารและการศึกษาภาคสนาม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)

ผลจากการวิจัยพบว่าวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา เรื่องมหาวิบาก หรือธรรม        มหาวิบาก เป็นวรรณกรรมท้องถิ่นทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของนักปราชญ์        ทางพระพุทธศาสนา มีการแต่งวรรณกรรมที่มุ่งเน้นด้านหลักธรรม ความเชื่อ และความศรัทธา      ในพระพุทธศาสนา โดยผสมผสานกับการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นล้านนา ที่มีความเกรงกลัวต่อบาปอกุศลต่างๆ เพราะพระพุทธศาสนาได้ซึมซับอยู่ในวิถีชีวิตของสังคมล้านนามาเป็นระยะเวลา ที่ยาวนาน และพระพุทธศาสนายังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่พึ่งทางใจ พุทธศาสนาจึงก่อกำเนิดความศรัทธา จนสร้างแรงบันดาลใจนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านวรรณกรรมทางพุทธศาสนา อาจกล่าวได้ว่าวรรณกรรมเรื่องมหาวิบากนี้ ได้มีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดหลักคำสอนและแนวทางประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เป็นผู้ถ่ายทอดผ่านทางวรรณกรรม นำไปสู่ความเชื่อที่สร้างสรรค์สังคมให้เรียนรู้เรื่องกรรม ผลของกรรม หรือวิบาก การประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบของศีลธรรม การแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ โดยผ่านทำนองการเทศน์ในรูปแบบธรรมวัตร

หลักธรรมที่ปรากฏในธรรมมหาวิบากของชาวล้านนาได้ใช้เป็นกรอบจริยธรรมในการดำเนินชีวิต พบว่า มีหลักธรรม ๔ ประการ คือ การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และหลักของไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิและปัญญา ธรรมมหาวิบากจึงเป็นการสื่อสารด้านศีลธรรม จริยธรรมระดับชาวบ้าน ภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาท้องถิ่น ทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจในหลักธรรมโดยถ่องแท้ ลึกซึ้ง และเข้าใจถึงธรรมที่เป็นธรรมชาติว่าทำอย่างไรก็ได้อย่างนั้น แม้กรรมนั้นจะไม่ได้ให้ผลในทันทีทันใด แต่วิบากกรรมนั้นย่อมติดตามไปในทุกภพทุกชาติ ตราบใดที่มนุษย์ยังคงวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสาร

คุณค่าของวรรณกรรมพระพุทธศาสนาล้านนา เรื่องมหาวิบากที่มีต่อคนในสังคมล้านนา พบว่าธรรมมหาวิบากมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวล้านนาในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต หรือผู้ป่วยหนัก หากมีการนิมนต์พระมาเทศน์ แสดงว่าบุคคลนั้นก็จะไม่พ้นความตาย ทำให้คนในสังคมได้เรียนรู้ถึงสัจจะธรรมของชีวิต และจะต้องดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ความเชื่อเหล่านี้ได้ ฝังรากรึกอยู่ในสังคมล้านนา ความเชื่อ ความศรัทธาของประชาชนในธรรมเรื่องมหาวิบาก นอกจากจะเป็นการสืบทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมท้องถิ่นแล้ว ยังทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความเกรงกลัวในบาปอกุศลต่าง ๆ

The objectives of this research were (1). to study the history and important of Buddhist Lanna literature of Dhamma Mahavipaka towards livelihood of Lanna people, This research (2). To aualytical study Buddha Dhamma principle appeared on Buddhist Lanna literlature (3).and also to study values of Buddhist Lanna literature on Dhamma Mahavipaka There were studied both document and field work. The data collecttion is used In-depth Interview.       The result of research was found that the Buddhist Lanna literature of Mahavipaka on Dhamma Mahavipaka was the local literature on Buddhism that was resulted from wisdom of Buddhist philosopher. It had had writing the literatur which emphasized the Dhamma principle, belief and trust in Buddhism by mixing conduct with livelihood of  Lanna peple, who revere to sin or any evils because Buddhism had absorbed in their mind for long time ago. Buddhism has been origin of the faith of people until it is creative the inspiration to create the achievement on Buddhist literature. It may be said that literature entitle Mahavipaka is important part for transmitting teaching principle and way to practice according with Dhamma principle in Buddhism. Buddhist monk is transmitted by passing literature and this thing is brought to belief that is creative learning society about Karmma (action) and Vipaka (result of action), conducting oneself following of morals. The result of action is shown gratitude to helper by teaching in form of Dhamma scripture.                   

The Dhamma principles appeared in Dhamma Mahavipaka of Lanna people were found that there were four aspects as follows by giving, observing the precepts, mental development and the threefold training consist morality, concentration and wisdom.  Dhamma Mahavipaka was communication on morality, ethic of villager level. The language using was the local language that listener could be deeply understanding in Dhamma principle and understood the Dhamma teaching that was nature that how to do will be got that thing.  Although that Karma will be not give results immediately but that result of a bad Karma will be followed  them in every existence as long as the human is still alive in cycle of rebirth                       

The value of, Buddhist Lanna literature on Dhamma Mahavipaka towards for livelihood of Lanna people was found that Dhamma Mahavipaka had concerned with livelihood of Lanna people in last time of life or hard patient. If they invite Buddhist monks come to teach Dhamma Mahavipaka for the patient, it means that the hard patient will be not dead. It is made people in society learning about the truth of life and they will have to maintain for no negligence. These beliefs are deeped in Lanna society. The beliefs, faiths of people in Dhamma Mahavipaka have not only inherited Dhamma principle on Buddhism by pass the local literature but also made people in society fear form unwholesome deed.


Keywords


หลักพุทธธรรม, วรรณกรรมพระพุทธศาสนา, มหาวิบาก

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.