การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
Abstract
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงาน โดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะ โดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณผสมการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่จำนวน ๑๑๐ คน และแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารที่เป็นหัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน จำนวน ๑๓ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานของโรงพยาบาลหนองม่วงไข่
ผลการวิจัยพบว่าการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (͞x=๓.๗๙) และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่าบุคลากรโรงพยาบาล หนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านจิตตะ (͞x=๓.๙๕) ด้านวิมังสา (͞x=๓.๘๕)ด้านฉันทะ (͞x=๓.๗๕) และด้านวิริยะ (͞x=๓.๖๒)
ด้านการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ โดยการจำแนกตามตามระดับตำแหน่งการปฏิบัติงานพบว่า มีระดับการปฏิบัติงานโดยการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานไม่ต่างกัน
ด้านแนวทางและข้อเสนอแนะในการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ พบว่า บุคลากรในโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ ควรใช้หลักอิทธิบาท ๔ นี้ไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน และนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับงานจะทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ เกิดความสุข เกิดใจรักงานที่ทำ การพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพในการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
The objectives of this research were ๑) to study an application of the four iddhipada principle for performance of personal Nongmaugkhai hospital, Phrae province, ๒) to compare the application of the four iddhipada principle for performance of personal Nongmaugkhai hospital, Phrae province, classifield by the position of Chief executive and officer and ๓)to study the guidelines and suggestion application of the four iddhipada principle for performance of personal Nongmaugkhai hospital, Phrae province This research is conducted the survey research. It has been not only quantitative research, but also quantitative research. The populations in this study of personal Nongmaugkhai hospital, Phrae province were ๑๑๐. The tools of this research for data collection were the questionnaire regarding the performance of personal Nongmaugkhai hospital and analyzed the interview from ๑๓ of chief executives of personal Nongmaugkhai hospital.
The statistics were used by frequency, percentage, average, and standard deviation (S.D) and t-test and analyzed interview chief executive personal Nongmaugkhai hospital.
The finding of this research are concluded as follows It was found that application of the four iddhipada principle for performance of personal Nongmaugkhai hospital in veal was at much high level (͞x=๓.๗๙). The classifying considered by each aspect, it was also rated much level at all aspects average from the most level to the least level Citta: thoughtfulness : (͞x=๓.๙๓), Vimamsa: investigation: (͞x=๓.๘๕), Chanda aspiration: (͞x=๓.๗๕) and Viriya effort: (͞x=๓.๖๓)
Any difference was not found in comparing the four iddhipada principle applied by personal Nongmaugkhai hospital, Phrae Province to their work performance, classified by position. Hypothesis was denied thereby.
For the way and the suggestion to apply the four iddhipada principle for performance of personal Nongmaugkhai hospital, Phrae province, it was found that the personal of Nangmaugkhai hospital, Phrae Province should use the four iddhipada principle as the main practice for work performance, life style and adapt it with their job suitability and habit of work performance was created the benefit the satisfied of their performance and organization. Furthermore, it also would build up the efficiency in the personal development and work performance.
Keywords
Full Text:
XMLRefbacks
- There are currently no refbacks.