การประยุกต์หลักอริยสัจ ๔ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รายการกรณีที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลแพร่

คุณญา แก้วทันคำ

Abstract


          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวัยแบบผสม (Mix Methodology Research) โดยการวิจัยทั้งเชิงเอกสาร (Documentay Research) มุ่งศึกษาหลักอริยสัจ ๔ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา และการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักอริยสัจ ๔ ในพระไตรปิฎกพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักอริยสัจ ๔  ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายกรณีที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลแพร่ และเพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการประยุกต์      หลักอริยสัจ ๔ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายกรณีที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลแพร่

            ในการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ใช้รูปแบบวิธี Randomization two groups before and after with control design ใช้วิธีดำเนินการทดลองโดนกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่มารับบริการที่คลินิกอายุกรรม โรงพยาบาลแพร่ จำนวน ๖๐ คน คัดเลือกโดยวิธีการจับคู่กลุ่มตัวอย่าง ตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ เพศ อายุ อาชีพ ระดับความดันโลหิตตัวบน และระดับความดันโลหิตตัวล่าง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทอดลอง และกลุ่มควบคุมโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวนกลุ่มละ ๓๐ คน กลุ่มมทดลองได้รับการประยุกต์หลักอริยสัจ ๔ ตามแบบแผนที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากกรอบแนวคิดหลักอริยสัจ ๔ เป็นเวลา ๑๐ สัปดาห์ ต่อเนื่องกันภายใต้การพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบริการดูแลตามปกติ

            รวบรวมข้องมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามเกี่ยวกับการประยุกต์หลักอริยสัจ ๔ ในการจัดการู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลแพร่ที่มีค่าความเชื่อมั่นคำนวณจากสูตรสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาค มีค่าเท่ากับ ๐.๘๕ โดยสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ คือ เปอร์เซ็นต์ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (MEAN) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบผลของการประยุกต์หลักอริยสัจ ๔ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายกรณีที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลแพร่ก่อน และหลังทดลองในกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Pair t-test, Exact probability test หรือ Wilcoxon rank-sum test

ผลการวิจัยพบว่า

            ๑. อรินสัจ ๔ คือหลักแห่งความจริง เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีหลักอยู่ ๔ ประการ ๑. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก หรือความไม่สบายการ ความไม่สบายใจ ๒. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา ๓ ประการ คือ ๑) กามตัณหา    ๒) ภวตัฒหา และ ๓) วิภวตัณหา ๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ ๔. มรรค คือ หนทางแห่งทางการดับทุกข์อันได้แก่ อริยมรรค ๘ ประการ คือ ๑) สัมมาทิฐิ มีความเห็นชอบ ๒) สัมมาสังกัปปะ  มีการงานชอบ ๓) สัมมาวาจา มีเจรจาชอบ ๔) สัมมากัมมันตะ มีการงานชอบ ๕) สัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ ๖) สัมมาอาชีวะ มีการประกอบอาชีพชอบ ๗) สัมมาสติ มีความระลึกชอบ และ ๘) สัมมาสมาธิ มีความตั้งใจมั่นชอบ นอกจากนี้หลักอริยสัจ ๔ ยังเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือความทุกข์ที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังได้วิธีคิด   แบบอริยสัจ ๔ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

            ๒. หลังการทดลองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายกรณีที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้โรงพยาบาลแพร่ในกลุ่มทดลองสามารถควบคุมความดันโลหิตดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ (P-value < ๐.๐๐๑) และมีพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมความดันโลหิตดีขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยทางสถิติ (P-value < ๐.๐๐๕)

            ๓. หลังการทดลองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายกรณีที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ โรงพยาบาลแพร่ในกลุ่มทดลองสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต (P-value < ๐.๐๐๑) และมีพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < ๐.๐๐๕

          The purpose of quasi- experimental study was to study the four Noble truths principle in the Tripitaka of Theravada Buddhism, to study the application of the four noble truths principle for hypertensions case management uncontrol hypertension, Phrae  hospital and also to study the result of comparisons the application of the four noble truths principle for hypertension case management uncontrol hypertension, Phrae hospital.

          The findings were as follows :

          1. The four noble truths is the principle of truth that is the reason and the cause each other. This Dhamma is a very important principle for solving the problem and good success. There are four principles namety (1) Dukka is the condition that is not permanace  (1) Dukka-samudaya is the cause of suffering namely 1) kama-tanha is sensual craving 2) Bhava-tanha is craving for existence (3)Dukka-nirodha is the cessation of suffering and (4) Dukka-nirodhagaminipattipada is pat leading to the cessation of suffering namely

                   1) Sammaditthi is right view

                   2) Sammasankappa is right though

                   3) Sammavaca is righ speech

                   4) Sammakammanta is right action

                   5) Samma-ajiva is right livelihood

                   6) Sammavayama is right effort

                   7) Sammasati is right mindfulness and

                   8) Sammasamadhi is right concentration.

          On the other hand, the four noble truths principle are the way to solve problem or all the suffering of the humanity. Moreover, we could get method of thinking inform of the four noble truths principle for solving the problem correctly.

          1. The subjects in the experience group who participated in application by practice of the four noble truths principle in hypertensive patient uncontrol hypertension, Phrae hospital had significantly higher than before intervention         (P-value < 0.001) and the behavior of health inuncontrol hypertensions had significantly higher than before intervention (P-value < 0.005).

          3. The subjects in the experience group who participated in application by practice of the four noble truths principle in hypertensive patient uncontrol hypertensions, Phrae hospital had significantly higher than before intervention and that of the control group (p-value< 0.001) and the behavior of health in uncontrol hypertension had significantly higher than before intervention and that of the control group (p-value < 0.005).


Keywords


การประยุกต์, หลักอริยสัจ ๔, ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, โรงพยาบาลแพร่

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.