ศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาวะแนวพุทธของนักเรียน โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่

นพณัช เขมานนฺโท

Abstract


งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาพุทธวิธีในการดูแลสุขภาพในพระไตรปิฎก (๒) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาการดำเนินการดูและช่วยเหลือ สุขภาวะแนวพุทธของนักเรียนโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ และ (๓) เพื่อศึกษาการดำเนินงานดูแล สุขภาวะแนวพุทธและแนวทางการพัฒนาสุขภาวะแนวพระพุทธของนักเรียนโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ตำรา เอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก

          ผลการวิจัยพบว่า

          ๑.พุทธวิธีเกี่ยวกับการดูแลสุขภาวะในพระไตรปิฎก มีหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องและสามารถประยุกต์เข้ากับทฤษฎี หลักการและแนวทางปฏิบัติในการสาธารณาสุขในยุคปัจจุบัน โดยอาจจะนำมาประยุกต์ ใช้ผสมผสานกับการบริการสาธารณสุขในแต่ละช่วงของสภาวะสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาวะที่ดีทั้ง ๔ มิติ ได้แก่ทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญาเพื่อให้เกิดแนวทางในการเสริมสร้าง สุขภาวะที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ๒. ด้านสภาพปัญหาในการดูแลสุขภาวะวิถีพุทธของนักเรียนโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ นั้น พบว่า มีปัญหาหลัก ๆ ใน ๔ ด้าน คือ ๑) ปัญหาสุขภาวะทางกาย เป็นสภาพปัญหาที่มีผลมาจากพฤติกรรม เช่น การไม่ออกกำลังกายการฉันภัตตาหารที่มีรสจัด และการไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในเบื้องต้นเมือเกิดการเจ็บป่วย ๒) ปัญหาสุขภาวะทางจิต คือ การ ที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และปัญหาความเครียดจากหลายด้าน ๓) ปัญหาสุขภาวะทางสังคม มีผลมาจากพื้นฐานครอบครัวที่แตกต่างกันการปรับตัวเข้ากับสังคมมีน้อย การขาดการ มีจิตสาธารณะในการช่วยเหลือสังคม และ ๔) ปัญหาสุขภาวะทางปัญญา เกิดจากความเคยชินของ การแสดงพฤติกรรม การลอกเลียนแบบความคิดคนอื่น ขาดความกระตือรือร้น ในการศึกษาหาความรู้ทั้งทางโลก และ ทางธรรม ทำให้เกิดมิจฉาทิฐิ  คือความเห็นที่ไม่ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง มีจิตนาการและความเพ้อฝันสูง ทำให้หลงผิด เกิดความทุกข์และไม่สามารถพบสุขที่แท้จริงได้๑

          ๓. ในด้านการดำเนินการดูแลสุขภาวะวีถีพุทธของนักเรียนโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ พบว่า ทางโรงเรียนได้ยึดหลักการตามนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีและของกรมอนามัยซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมสนองงานตามพระราชดำริ โดยเน้นให้สามเณรเป็นผู้ลงปฏิบัติด้วยตนเอง และใช้รูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพระธรรมวินัย และมีเป้าหมายของการพัฒนา คือ สามเณรมีโภชนาการดี สุขภาวะแข็งแรงใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทนเป็นศาสนทายาทที่ดี มีความรู้ ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปพัฒนาปัญญาของตัวเอง และใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ หลักไตรสิกขา ได้แก่ การมีศีล สมาธิ และปัญญา โดยการใช้รูปแบบการดำเนินการดูแลสุขภาวะ แนวพุทธในลักษณะของการจัดกิจกรรมและโครงการเสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกบการนำหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเพื่อให้เกิดผลสูงสุด

          ส่วนแนวทางในการพัฒนาสุขภาวะวิถีพุทธ เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาวะที่ดีในทุก ๆ ด้าน คือ (๑) ด้านสุขภาวะทางกาย (๒) ด้านสุขภาวะทางจิต (๓) ด้านสุขภาวะทางสังคม และ (๔) ด้านสุขภาวะทางปัญญา ทางโรงเรียนควรนำหลักพุทธธรรมมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้อย่างจริงจังในทุกด้านโดยมีหลักธรรมบางประการที่สามารถนำไปผสมผสานหรือเสริมกับการดูแลสุขภาวะได้ในหลายด้าน เช่น การเจริญวิปัสสนากรรมฐานธุดงค์ควัตร เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้เกิดสุขภาวะในทุกด้าน ได้แก่ ทางกาย ทางจิต ทางสังคมและปัญญา เป็นการเสริมสร้างพลังการดูแลสุขภาวะและคุณภาพชีวิตให้มีความสมบูรณ์และมั่งคงของนักเรียนในโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่

          The purposes of this research are 1) to study the Buddhist way in the health care in Tripitaka of Buddhism, 2) to study problem and cause of performance the health care on Buddhist way of students Buddhakosaividaya school, Phrae Province, 3) to study the performance of health care on Buddhist way and guidelines for health development on Buddhist way of the students in Buddhakosaividdaya School, Phrae Province, This study is the qualitative research which shudied from the scripture of Theravada Buddhism, textbooks as well as related documents and collected the data by using the in-depth interview.

          The results to research are found as follows:

          1. The Buddhist way regarding the health care in Tripitaka have Buddha Dhamma principles which are matched and could be applied with theory, principles, and practice guideline in the modem public health service. Lt could also be applied and integrated with the public healt service in each period of health conditions. This is to encourage the good health in four dimensions: i.e. physical, mental, social and intellectual aspect. On the other hand, it has also guided in support the perfect health and efficiently.

          2. In term of the problem conditions in health care on Buddhist way of students Buddhakosaividdaya School, Phrae Province are found that there are four main points namely 1) the problem physical health such as have on exercise, take spicy taste and could not care by themselves when they are sick  2) the problem of mental health, they are not adjust with another person, lost the trust by themselves and tension from many things. 3) The problem of social health, it is effected from the basic of different family. The adjust with society, have no public mind in social helpine and 4) the problem of intellectual health, it is the habit of behavioral acting, copy another one, on enthusiasm in pursuing knowledge both in knowledge both in the current dimensions and in the Dhamma dimensions. Opinions are not right along the truth, high imagine and fancy, be mistaken, have suffering and could not met the happiness really.

          3. In the implementation of the health care Buddhist way of the students in Buddhakosaividdaya School, Phrae Province, it is found that school is cherished the principles according to the policy of health promoting under the royal initiative by Her Majesty Princess Maha jakri Sirindhon and by Deparent of Health, the government aggncy cooperatively workinG to fu;fill the royal initiative uhder for health promoting and nutrition of novices in the Dhamma Studies schools.  This project conducted by themselves and use to the suitable development pattern that corresponded with the novices and monks’ disciplines.  And also the goal of the develop is the novices healthy, having a stable, have good nutrition, strong health, beihg diligent, honest and patient in order to become the good Buddhist descendants good knowledge as well as could be developed the intellectual by themselves and living in the future, It is also matched with the Dhamma principle of Buddhism such as precepts, concentration and wisdom. The pattern of implementation the health care on Buddhist-way can be implemented through organizing of the activities and supplementary projects that deal with exerting the Buddhist Dhamma principles to apply the best use.

          Regarding the guidelines for developing the health care Buddhist-way in order to make the students have a good health in the four aspects as follows 1) physical health 2) mental health 3) social health and 4) intellectual health, it is a very necessary that the school integrate pedagogical process and really apply in every aspect of them in teaching and learning procedure. Certain Dhamma principles can be well integrated or supplemented to health care in various ways e.g. doing the meditation or pilgrimage practice to enhance the potential in all aspect of health to derive by, i.e. 1) physical  2) mental 3) social and 4) intellectual aspect. Furthermore, thing will be the reinforcement for empowering the health care and life quality of the students in Buddhakosaividdaya School, Phrae province, to be complete and secured.


Keywords


แนวทางการพัฒนา, สุขภาวะ, นักเรียน

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.