ศึกษาคติธรรมในประเพณีการสรงน้ำพระธาตุของจังหวัดพะเยา

พระครูภาวนา เจติยานุกิจ

Abstract


งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาเป็นมาของการบูชาพระธาตุและคติธรรมในการบูชาพระธาตุของพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาคติธรรมในการสรงน้ำพระธาตุของจังหวัดพะเยา ๓) เพื่อศึกษาคุณค่าและอิทธิพลของประเพณีการสรงน้ำพระธาตุที่มีต่อ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำรางานวิจัยพระไตรปิฎกที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน ๓๒         รูป/คน ในพื้นที่ วัดพระธาตุจอมทอง อำเภอเมือง วัดพระธาตุสบแวนอำเภอเชียงคำ พระธาตุชิงแกง อำเภอจุน พระธาตุดอยหยวก อำเภอปง จังหวัดพะเยา

          ผลการศึกษาพบว่า

๑) การบูชาพระธาตุในพระพุทธศาสนานั้น มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยมีองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ริเริ่ม ทำให้เป็นประเพณีความเชื่อ สืบทอดต่อกันมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพาน จึงมีการแบ่งพระบรมธาตุของพระองค์ เพื่อไปบูชาในสถานที่ต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความเชื่อว่า การบูชาพระพุทธเจ้า ถือว่ามีอานิสงส์มาก ทำให้เกิดรูปแบบของการบชาพระบรมสารีริกธาตุเกิดขึ้น เช่น มีการสรงน้ำองค์พระเจดีย์ธาตุ การห่มพระองค์เจดีย์ธาตุ การถวายปัจจัยไทยธรรม การปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา

          ๒) การศึกษาคติธรรมในการสรงน้ำพระธาตุของจังหวัดพะเยา พบว่า คติธรรมที่ปรากฏอยู่ในประเพณีการสรงน้ำพระธาตุ คือ (๑) ความศรัทธา เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล (๒) ความสามัคคี การปรองดองกันของคนในแต่ละชุมชน นำไปสู่การสร้างความสำเร็จและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข (๓) ความกตัญญู ได้ระลึกนึกถึงผู้มีพระคุณล่วงลับไปแล้ว เช่น บิดา มารดา ญาติ ทั้งหลาย (๔) การบริจาคทาน ส่งเสริมให้รู้จักการเสียสระ และลดความตระหนี่ซึ่งส่งผลให้ชุมชนอยู่กันอย่างเกื้อกูล

          ๓) ด้านคุณค่าและอิทธิพลของประเพณีการสรงน้ำ พระธาตุที่มีต่อ สังคม เศรษฐกิจ  การเมือง พบว่า คุณค่าของประเพณีการสรงน้ำพระธาตุที่ปรากฏ คือคุณค่าด้านวัฒนธรรมซึ่งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพชนให้คงอยู่ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ด้านการศึกษาเหง้าของตนเองโดยผ่านกระบวนการทางวัฒนธรรมประเพณีการ สรงน้ำ พระธาตุ จึงเกิดผลที่มีคุณค่าด้านทางจิตใจ สำหรับอิทธิพลของประเพณีนี้ในด้านสังคมพบว่า ประเพณีนี้ ได้ส่งเสริมให้สังคมเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน เป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจ เป็นสังคมที่เป็นแบบแผนที่ดีศูนย์รวมทางด้านจิตใจ เป็นสังคมที่เป็นแบบแผนที่ดีงาม ทำให้เกิดความสุขที่เชื่อมโยงระหว่าบุคคล ด้านเศรษฐกิจ ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้ และกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่เกิดการซื้อขายและเปลี่ยนสินค้า ด้านการเมือง ทำให้นักการเมืองตระหนักถึงความสำคัญ ช่วยสนับสนุนงบประมาณ และบริการด้านต่างๆ ในงานประเพณีการสรงน้ำพระธาตุ

This research aimed to investigate : 1) The original and Buddha teaching of Buddha’s relic worship in Buddhism, 2) the Buddha teaching in tradition of relic pouring ceremony of Phayao province and 3) study the influence and tradition of relic pouring ceremony of Phayao towards society economy and politic. This research is a qualitative by studied from documents, texts, Tripitaka’s scriptures and interviewed with 32 local wisdom people on 4 temples in Phayao province : Phratat Jomthong, Phratat  Sobwan, Phratat Khingkang, and Phratat Doi youk.

          The results of this research are as follows:

          1) the Buddha’s relics have had since Buddha’s lifetime that Lord Buddha was an originator and it became belief tradition inherits each other, the divining of Buddha’s relics had given to people after the nirvana’s Buddha for worshiping in all different place. From this situation it becomes to cause of the belief that, anyone has worshiped Buddha’s that relics, they will be get advantage very much namely Buddha’s relics model, relic pouring ceremony, the cover by using cloth the pagoda. Offer the best thong to Buddhist monks and practicing the meditation for worship the Lord Buddha.

          2) The Buddha teaching in tradition of relic pouring ceremony of Phayao province, it was found that Buddha teaching appeared in tradition of relic pouring ceremony are as follows: (1) Faith: it is the faith that comprised the reason (2) Harmony: it is the reconciliation of people in the each community that has brought to the success together and has been peace building all together. (3) Gratitude: it is remembered the parent who passed away already, namely father, mother, or their relative. (4) Liberality: It is encouraged for devoting and decreased the selfish which has enhanced the community to help each other.

          3) In part of the influence and worth of tradition of relic pouring ceremony of Phayao towards society economy and politic., it was found that the worth of tradition of relic pouring ceremony are as follows: the culture, it is inheritance the intellect of ancestor which should be conserved and be educated the origin of themselves. This worth will be run to cultural process of relic pouring ceremony and it is also affected in the metal. For the influence of relic pouring ceremony, in term of society, it is found that this ceremony is encouraged the society becomes sharing society, be mental center, be society of society, be mental center, be society of good custom and become happiness as come by between the people in the community. In part of economy, it is encouraged people to earn money for adding income in the community and also is pushed people in this area to trade the goods. In term of the politics: it is found that this relic pouring ceremony will be an opportunity for the politician realized the supporting the budget and service in everything.


Keywords


คติธรรม, ประเพณีการสรงน้ำ, พระธาตุ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.