ศึกษาทัศนคติของคณาจารย์และนิสิตที่มีต่อการใช้ข้อสอบกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : กรณีศึกษามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
Abstract
การศึกษาทัศนคติของคณาจารย์และนิสิตที่มีต่อการใช้ข้อสอบกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและปัญหาของคณาจารย์และนิสิตที่มีต่อการใช้ข้อสอบกลาง และเพื่อทราบข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้ข้อสอบกลางใน ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านแผนการใช้ข้อสอบกลาง ด้านการจัดสถานที่สอบและห้องสอบ ด้านข้อสอบกลาง ด้านการเตรียมอุปกรณ์การสอบและการเตรียมผู้ดำเนินการสอบหรือผู้กำกับห้องสอบ ด้านการดำเนินการสอบ และด้านการประเมินผลสอบตามลำดับ ประชากรที่ทำการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยคณาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่ใช้ข้อสอบกลางจำนวน ๑๑ รูป/คน และนิสิต ของวิทยาเขตแพร่ จำนวน ๒๐๘ รูป/คน โดยคำนวณจากสูตร ทาโร ยามาเน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการจัดอันดับผลการวิจัยพบว่า
คณาจารย์เห็นว่าการใช้ข้อสอบกลางของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่นั้นได้มีการประชุม และวางแผนเตรียมความพร้อมของสถานที่สอบ และห้องสอบที่ใช้ดำเนินการสอบมีความเหมาะสมผู้ดำเนินการสอบหรือผู้กำกับห้องสอบนั้นมีเพียงพอต่อการดำเนินการสอบ และขณะดำเนินการสอบนั้นนิสิตเป็นกัลยาณมิตรที่ดี ข้อสอบกลางมีคำชี้แจง ที่ชัดเจน มีอุปกรณ์การสอบที่เพียงพอ ด้านการประเมินผลสอบมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงคือ วิทยาเขตแพร่ควรมีการประชุมให้บ่อยครั้งก่อนการนำข้อสอบกลางมาใช้เพื่อปฏิบัติให้ตรงกัน
ในด้านทัศนคติของนิสิตที่มีต่อการใช้ข้อสอบกลางของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยพบว่า มีการความเตรียมความพร้อมในการใช้ข้อสอบกลาง สถานที่สอบและห้องสอบมีความสะดวกสบาย ข้อสอบกลางมีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้วัดผล การเตรียมอุปกรณ์การสอบและการเตรียมผู้ดำเนินการสอบหรือผู้กำกับห้องสอบมีเพียงพอ ด้านการดำเนินการสอบนั้นมีความเหมาะสม และผู้ควบคุมห้องสอบมีความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีกับนิสิต การประเมินผลสอบมีความรวดเร็วและทันสมัย แต่ทั้งนี้วิทยาเขตแพร่ควรมีการปรับปรุงเนื้อหาการสอน และตำราให้ตรงกับข้อสอบกลาง
The objectives of this research were to study the attitude and problem's teachers and students by using the central examination subjects, to study suggestions and solotions to the arrangement use the central examination subject of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus in 6 aspects namely the central examination plan using, place and exam rooms, the central examination subject, exam preparation equipment the invigilator. exams proceeding and exams Evaluation. The sample of research comprised teachers who had used the central examination subject were 11 persons, The sample of students of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus were 208 cases. by calculating from formula of Taro yamane.
A tool used in the research was questionnaires by covering material in 6 aspects. The statistics used the data analysis were the percentage (% ) and Mean ().
The results of research:
The Teachers discuss with the using plan of the central examination of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus. Phrae campus had meeting about planning the place and exam rooms which appropriated. The invigilators were enough to exams proceeding . The students was honest while it was actualizing exams. The central examination war clear statement. Exams preparation equipment ware enough, Exams evaluation was modern techno logy. However, there was a suggestion for improvement. Phrae Campus should frequently have the meeting before using the central examination subject.
Attitude’s students towards using the central examination subject of Mahachulalongkornrajavidyalaya University Phrae Campus was found that it had the preparation of the central examination subject , place and exam rooms were comfortable. The central examination subject was appropriate to apply measures. Preparatory exams and the preparation for the exam or the invigilators were enough to exams proceeding . The invigilators were a great friend to the students. Assessment Test was quick and stylish. However, Phrae campus should improve synonymous teaching content and textbooks with the central examination subject.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.