ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีศึกษากลุ่ม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒

ถวิน สุนโน

Abstract


การวิจัยศึกษาครั้งนี้ ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีศึกษากลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ โดยมีวัตถุประสงค์ การวิจัย ๑) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กลุ่ม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกประชากรผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนวิถีพุทธกลุ่ม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ จำนวน ๙ โรงเรียนโดยใช้กลุ่มประชากรแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น ๑๔๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมวลค่า สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลวิจัยพบว่า การดำเนินงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ : กรณีศึกษากลุ่ม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ โดยรวม ๔ ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๕ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและมากโดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านกระบวนการมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๖๓ ด้านผลผลิตมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๖ ด้านผลกระทบมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๕ และด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๖ ส่วนด้านแนวทางในการพัฒนาการดำเนินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กลุ่ม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๒ โดยพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าด้านปัจจัยนำเข้าผู้บริหารควรสนับสนุนให้มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดทั้งในโรงเรียน และชุมชนอย่างต่อเนื่อง, โรงเรียนควรมีการอบรมคุณธรรมนักเรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน (วัดหรือป่าไม้ธรรมชาติ) และผู้บริหาร และครูควรได้รับการอบรมความรู้คุณธรรมด้านศีล สมาธิ ปัญญาอย่างต่อเนื่อง ด้านกระบวนการผู้บริหารควรจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาด้านศีล สมาธิ ปัญญาให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ, นอกจากนี้ผู้บริหารควรจัดให้มีการศึกษาแหล่งเรียนรู้วิถีพุทธนอกสถานที่ เช่น พิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ      วัดที่มีชื่อเสียงในการปฏิบัติธรรม เป็นต้น ด้านผลผลิต ผู้บริหารควรจัดให้มีการวัดและประเมินผลการพัฒนาด้านศีล สมาธิ ปัญญาให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ และด้านผลกระทบผู้ปกครองที่บ้านได้ฝึกนักเรียนด้านศีล สมาธิปัญญาต่อจากโรงเรียนและวัดอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนได้รับการยกย่อง ชื่นชมในการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

This research is a study of the effecting of the Buddhist way project: a case study of the primary school group under Phrae educational service area office ๒ The effecting of the Buddhist way project and also to study the guidelines to improve the implementation the Buddhist way project of the primary school group under Phrae educational service area office ๒

          The instruments is used in gathering the data are the questionnaires which are sent to nine schools as one hundred and forty directors and teachers of the Buddhist way project of the primary school group under Phrae educa tional service area office ๒. The statistic devices are percentage, mean, and standard deviation.

          The results are as follows: Mean of a study of the effecting of the Buddhist way project : a case study of the primary school group under Phrae educational service area office ๒ is the level as (=๔.๔๕) of four factors. When are the most level and mush” Mean of the process factor, the product factor and the effective factor are the most level (=๔.๖๓), (=๔.๕๖) and (=๔.๕๕) respectively. Mean of input factor is much as  (=๔.๔๖)

          The recommendations for improving a study of the effecting of the Buddhist way project: a case study of the primary school group under Phrae educational service area office ๒ can be divided into three parts as follows. The input factor, the directors should always schools and community. The teachers should train the morals to students in schools and outside schools (temples and nature). The directors and teacher should be always trained precept, meditation and mentality. The process factor, the directors should always arrange the activity for development in precept, meditation, and mentality. Moreover, the directors should have sightseer the museum, ancient city and the well-known temple in meditation for students. The product factor, the directors and teachers always measure and assess of student’s in precept, meditation and mentality.


Keywords


ด้านปัจจัยนำเข้า, ด้านขบวนการ, ด้านผลผลิต, ด้านผลกระทบ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.