การบูรณาการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ (AN INTEGRATION OF THE FIVE PRECEPTS OBSERVATION INTO CREATING HAPPILY COMMUNITY : A CASE STUDY OF THE EXPANSION SCHOOL.)

Phrapalad Kittipan Saccavaro (Wongsawad), Phrakhru Kosaipattanapundit

Abstract


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาบริบทและกระบวนการของสถานศึกษาในการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ๒) เพื่อศึกษาการบูรณาการการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) บริบทของสถานศึกษาในอำเภอเด่นชัย สถานศึกษาได้กำหนดทิศทาง/แนวทางการดำเนินงานในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด มีแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และแผนปฏิบัติงานประจำปี มีนโยบายในการจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้หลักพระพุทธศาสนาร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นโดยสม่ำเสมอ ในการดำเนินโครงการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ตามหลักของ “บ-ว-ร”

๒) การบูรณาการการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน พบว่า ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ได้ส่งเสริมให้นักเรียน ประชาชนในชุมชนรักษาศีล ๕ โดยการประสานงานของผู้นำชุมชนผู้นำท้องถิ่นในหมู่บ้าน ร่วมกับหน่วยงานราชการ และสถานศึกษา ผ่านโครงการกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนรักษาศีลปฏิบัติธรรมและน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการร่วมปลูกฝังคุณลักษณะนิสัยประชาชนรู้รักสามัคคีทำความดีถวายในหลวง สร้างสังคมน่าอยู่อย่างยั่งยืน บูรณาการร่วมส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีสุข และส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนมีจิตสาธารณะทำความดีด้วยหัวใจส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งด้วยศีลธรรม

๓) ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามจากประชากรกลุ่มตัวอย่างต่อการศึกษาการบูรณาการการรักษาศีล ๕ ในสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน ตามหลักประกันทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๕ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( = ๔.๓๐, S.D.= ๐.๖๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามหลักประกันทางพระพุทธศาสนา พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมการรักษาศีล ๕ อย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน พบว่า ควรส่งเสริมด้วยหลักประกันทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๕ ด้าน

 

คำสำคัญ: การบูรณาการ, ศีล ๕, โรงเรียนขยายโอกาส, การมีส่วนร่วม, การสร้างชุมชนเข้มแข็ง

 

Abstract

 

This research aims: 1) to study the context and process of five precepts observing for creating happily community : a case study of the expansion school in Denchai District, Phrae Province, 2) to study the intergrating of five precepts observing into creating happily community : a case study of the expansion school in Denchai District, Phrae Province and 3) to propose a way to promote the five precepts of participation in schools to strengthen the community: a case study of the expansion school in Denchai District, Phrae Province. This study was the mixed methods research. The qualitative research was done by using both documentary and in-depth interviews methods. The data were analyzed and described in descriptive manner. The quantitative research methods was done by collecting data using questionnaire and data were analyzed by means and standard deviation.The results were as follows:1) In the context of the school in Denchai, the school has set the direction / guideline for educational management to provide education, and educational facilities use as a guideline for educational management to maximum efficiency and effectiveness. There are plans to improve the quality of education and annual plan. Most importantly, students and staff in most educational institutions respect Buddhism. The policy is to integrate the Buddhist education with the local community regularly and have the participatory process the development of the annual educational quality management plan. In the implementation of the program, the five precepts of the Buddha were given to the community in accordance with the principle of "home, temple and school" the 5 precepts cover 5 verses.2) The integrating the Five Precepts of participation in schools to strengthen the community, it was found that: Community and related organizations encourage students people in the community maintain the 5 precepts by coordinating community leaders, local leaders in the village. Cooperate with government agencies and educational institutions through community activities. Campaigns for all sectors to maintain the practice five precepts observing , practice meditation, and pratice of the Sufficiency Economy philosophy integrated the cultivated characteristics of the people to know the harmony of good luck to the King. To create a sustainable society by the participation of temples and Sangha community in Denchai district to promote the practice of the 5 precepts in the school through the Buddhist teacher (Krupra) of moral teaching. Encourage monks who have the knowledge and ability to attend the moral education in the school. Encourage educational institutions to preserve the Panca-sila and Panca-dhamma with public officials and police. Intergrated and encourage students to be good, genius and happy, and encourage students, youth and the public to do good deeds with the heart, to encourage the community to be morally strong.The results of a study on satisfaction with integrating the five precepts of participation in educational institutions to strengthen the community found that: The overall score was at a high level (

= 4.30). When considering each side, it was found that the score was at a high level. Therefore, the guidelines for the promotion of the five precepts of participation in schools to strengthen the community, should be promoted by the five aspects of Buddhism.

 

Keyword: integrating, Five Precepts, Expansion School, Community, Creating Happily Community

Keywords


integrating, Five Precepts, Expansion School, Community, Creating Happily Community

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.