การวิเคราะห์คุณค่าของหลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก (AN ANALYTICAL STUDY OF THE VALUES OF BUDDHIST PRINCIPLES APPEARED IN MAHĀVESSANTARAJĀTAKA)
Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและสาระสำคัญของมหาเวสสันดรชาดก ๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก และ ๓) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของหลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดก การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
มหาเวสสันดรชาดก เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป บางครั้งนิยมเรียกว่า มหาชาติ เนื่องด้วยเป็นเรื่องของ พระโพธิสัตว์ เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นชาดกเรื่องสุดท้ายในจำนวน ๕๔๗ พระเวสสันดรโพธิสัตว์ นับเป็นพระชาติที่ ๑๐ ในทศชาติชาดก มีทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ คือ ๑) กัณฑ์ทศพร ๒) กัณฑ์หิมพานต์ ๓) กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๔) กัณฑ์วนประเวสน์ ๕) กัณฑ์ชูชก ๖) กัณฑ์จุลพน ๗) กัณฑ์มหาพน ๘) กัณฑ์กุมาร ๙) กัณฑ์มัทรี ๑๐) กัณฑ์สักกบรรพ ๑๑) กัณฑ์มหาราช ๑๒) กัณฑ์ฉกษัตริย์ และ ๑๓) กัณฑ์นครกัณฑ์
หลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดกประกอบไปด้วย หลักกฎแห่งกรรม,หลักความไม่ประมาท,หลักการให้ทาน, หลักฆราวาสธรรม ๔ ,หลักอธิปไตย ๓, หลักพรหมวิหาร ๔, หลักทิศ ๖ หลักสังคหวัตถุธรรม, หลักสันโดษ, หลักมิตรแท้-มิตรเทียม, หลักศีล ๕, หลักกาลามสูตร, หลักมุสาวาท,กตัญญูกตเวที, หลักโกศล ๓, หลักสังเวคปริกิตตนปาฐะ, หลักอธิษฐานธรรม, หลักอกุศลมูล ๓, หลักโภชเนมัตตัญญุตา, หลักอภัยทาน และหลักสาราณียธรรม ๖
คุณค่าของหลักธรรมที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดกนั้น จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าคุณค่าที่เกิดขึ้นมี ๔ ทาง คือ คุณค่าด้านร่างกาย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์นั้น จะช่วยให้ดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต รู้ว่าสิ่งไหนมีประโยชน์ต่อร่างกาย สิ่งไหนให้โทษต่อร่างกาย เห็นคุณค่าของร่างกายและดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง ตลอดจนถึงรู้จักใช้ร่างกายของตนเองในทำความดี คุณค่าด้านจิตใจ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์นั้นจะช่วยพัฒนาจิตใจให้มีความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น มีจิตใจที่เป็นกุศล เมื่อมีอารมณ์โลก โกรธ หลง ก็สามารถระงับได้ และมีเข้าใจในสัจธรรมของชีวิตดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท คุณค่าด้านสังคม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างสงบ ทุกคนต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่น เมื่อใครทำผิดก็ให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีเป็นที่ตั้ง สังคมมีความเข็มแข็ง ปัญหาทางครอบครัวลดน้อยลงและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และคุณค่าด้านประเพณีและวัฒนธรรม ประเพณีและวัฒนธรรมของไทยส่วนใหญ่มักจะมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจในการประกอบพิธีกรรมจนก่อให้เกิดประเพณีและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาขึ้น
คำสำคัญ: วิเคราะห์คุณค่า, มหาเวสสันดรชาดก
Abstract
The research objectives were as follow: 1) to study the history and the essential of Mahāvessantarajātaka 2) to study the Buddhist principle appeared in Mahāvessantarajātaka 3) to analyze values of Buddhist principle appeared in Mahāvessantarajātaka. This research is a documentary research. The researcher was studying related documents and research works and analyzed the data according to the research objectives, then, the data were analyzed according to the research objectives.
The results were found as follow:
Mahāvessantarajātaka is considered to be the well-known as Buddhist literature. Sometimes, that is called Mahājātaka, the story of Bodhisāttvā when he was born as Phrāvessāndorn, the latest of jātakas from 547. Phrāvessāndorn Bodhisāttvā is last in 10 jātaka. There were 13 parts of Mahāvessantarajātaka as follow 1) Dāsāporn 2) Himmāpānā 3) Dānā 4) Wanapaved 5) Jūjaka 6) Julāpālā 7) Mahāpala 8) Kumāra 9) Mataree 10) Sakkābap11) Mahāraja 12) chakasata 13) Nakara
Buddhist principles appeared in Mahāvessantarajātaka were consisted of Karmma principle, Heedlessness principle, Dāna principle, Gharāvāsa-Dhamma principle, Adhipateyya principle, Brahmavihāra principle, Six Disas principle, Sanghavatthu principle, Santosa principle, Mitta principle, PancaSīla principle, Kālāmāsūtta principle, Musāvāda principle, Kataññūkataveditā principle, Kosalla principle, Adihitthānnadhamma principle, Akusalamūla principle, Bhojanemattannutā principle, Sārānīyadhamma principle
In the Buddhist principles values appeared in Mahāvessantarajātaka; the researcher found that there were 4 values: physical values, psychological values, social values and Traditional and Cultural values. The first value was physical values, it can help us not to be careless in life, it help us to separate the good things from the bad things, appreciate the physical value and take care of ourselves as well as use ourselves to do the good things. The second value was psychological values, the doctrines appeared in Mahāvessantarajātaka can develop mind to be generous and kind, not to be jealous and increase the understanding of the truth. The third value was social values, the Buddhist principles appeared in Mahāvessantarajātaka can help us to live in society peacefully. Everybody does their duties, not to make trouble. When someone does wrong thing, everybody can forgive to each other. The society was vigorous. The problems of family will be decreased. The last value was traditional and cultural values, most Thai cultures and traditions had related with Buddhism by order to having Buddhist principles to put their faith by Buddhist ceremonies. Therefore, there are many Buddhist traditions and culture nowadays.
Keyword: to analyze values, Mahāvessantarajātaka
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.