นโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนา (POLICY AND CULTURAL TOURISM MANAGEMENT OF CIVIL STATE IN LANNA)

Poonsarp Ketveeraphong

Abstract


บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษานโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนา 2. เพื่อศึกษานโยบายและพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการท่องเที่ยวประชารัฐในล้านนา 3. เพื่อวิเคราะห์การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนาการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยในเชิงคุณภาพ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ในจังหวัด เชียงราย จังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาล คือ ผู้อำนวยการท่องเที่ยว 3 ท่าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ท่าน เจ้าอาวาส 9 รูป รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 15 รูป/คน

     ผลการวิจัย พบว่า

     1. ผลนโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนา พบว่าภาครัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวของประเทศโดยได้กำหนดกรอบการทำงานอยู่ 2 เรื่องที่สำคัญของประเทศ คือ การกำหนดนโยบายสานพลังประชารัฐ กำหนดนโยบายกรท่องเที่ยวของรัฐบาลและกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558-2560  ใน 3 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสินค้าและบริการท่องเที่ยวและยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริการจัดการท่องเที่ยว และ เป็นไปตามกลไกของนโยบายการพัฒนาสามพลังของประชารัฐซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเน้นภาคเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ความร่วมมือและชุมชนเข้มแข็ง รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 ครอบคลุมระยะเวลาถึง 3 ปี ต่อเนื่องถึงปัจจุบันและกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ ดัชนีชี้วัด

     2. ผลการศึกษา พบว่า นโยบายและพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนาในภาพรวมในสามจังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัด พบว่า ทั้งสามจังหวัดได้ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพัฒนาตามนโยบายภาครัฐมาตามลำดับ โดยจัดการท่องเที่ยวด้วยตัวเองจากต้นทุนที่มีอยู่ของแต่ละจังหวัดในลักษณะที่แต่ละวัดดำเนินการจัดการร่วมกับพระสงฆ์คณะกรรมการวัด โยมอุปัฐฐากวัด โดยใช้งบประมาณจากการงานบุญของวัดและเงินบริจาคของนักท่องเที่ยว สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเข้าไปสนับสนุนการให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษแก่มัคคุเทศก์อาสา โดยที่พื้นที่เป็นผู้เชื้อเชิญภาครัฐเข้าไปมีส่วนร่วม และพบว่า ภาครัฐยังมีส่วนพัฒนาในอัตราที่น้อยอยู่มาก ยังไม่ครอบคลุมที่ภาครัฐบาลได้ประกาศนโยบายด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาล ปี พ.ศ. 2558 ต่อการเพิ่มรายได้ให้ประเทศ กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น พัฒนาคุณภาพคนไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560

     3. การวิเคราะห์ผลนโยบายและการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประชารัฐในล้านนาเชิงเอกสาร พบว่า เป็นไปตามกลไกของนโยบายการพัฒนาสามพลังของประชารัฐซึ่งรัฐบาลได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเน้นภาคเศรษฐกิจ อาชีพ รายได้ความร่วมมือและชุมชนเข้มแข็ง สอดรับกับนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่ประกาศให้ปีพุทธศักราช 2558 ในส่วนของยุทธศาสตร์ พบว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560 วิเคราะห์ผลในเชิงพื้นที่รายจังหวัด  จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดเชียงใหม่นั้น พบว่า ล้วนแต่ดำเนินการจัดการท่องเที่ยวด้วยตนเองโดยความร่วมมือของพระสงฆ์- สามเณรในวัดและคณะกรรมการวัด ปู่อาจารย์วัด ผู้รู้ในชุมชน สถานศึกษา ในส่วนของงบประมาณเป็นเงินทำบุญของวัดและเงินบริจาคของนักท่องเที่ยวและโยมที่อุปถัมภ์วัดเป็นกำลังสำคัญของวัด ภาครัฐยังไม่มีงบประมาณสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยตรง

Abstract

     The objectives of this research were 1) to study the policy and cultural management of civil state in Lanna, 2) to study the policy and strategic development of tourism management of civil state in Lanna and 3) to analyze the cultural management of civil state in Lanna. This research was a qualitative by used document and in depth interview in the Chieng Rai, Nan and Chieng Mai Province. The sampling groups were 15 persons as the Director of Tourism 3 persons, the Local Administrative Organization 3 persons and the Abbot 3 persons.

    The results of the research were found as follows;

     1.The result of the study the policy and strategic development of tourism management of civil state in Lanna was found that the government had focus about  the tourism of the country by had made two frames as policy conduct of power cooperation of civil state, tourism and the Thai tourist strategy on 2015-2017. There were three strategies as 1) the tourist marketing, 2) the trade development and tourist service and 3) the service of tourist management. The government had not only used these three strategies but all so the sufficient economic principles to solve the problem by emphasizing the economic, occupation, income, cooperate and strong community division. The government had made the Thai tourist strategy three years and up to the present time it had made the visions, goals, missions and indexes.

     2.The result of the study of the the policy and strategic development of tourism management of civil state in Lanna in overall was found that Chieng Rai, Nan and Chieng Mai Province had conducted the cultural tourism management respectively that they conducted by themselves by joining the Buddhist monks, the monastery committee, patron of Buddhist monk and had used the budget of the monastery and come from the donation of the tourist and the school had taught the English to the guide. In part of the public section had a few development that was not covered as the advertising the tourism policy on 2015, income increasing, spread the income to the Local, the Thai’s qualitative development, the value added making about Thai tourism including the making strategy on 2015-2017.

      3. The result of analyze the cultural management of civil state in Lanna was found that it had conducted the policy and the cultural management of civil state in Lanna that they also brought the sufficient economy principle to guide for solving the problems as economic, occupation, income, cooperation and strong community. It had also matched the tourism policy of government that announced the year of tourism on 2015 and the government had made the Thai’s tourism strategy on 2015-2017.In part of Chieng Rai, Nan and Chieng Mai Province had conducted the cultural tourism management by itself by cooperating of Buddhist monk, monastery committee, the local wisdom and the school. They had used the budget of the monastery and the money of the tourist who donated to the monastery and patron of Buddhist monk. In term of the public sector had not direct supported of the budget for cultural tourism management. 

 

 


Keywords


นโยบาย,การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม,ประชารัฐ (Policy, The cultural tourism management, Civil State)

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.