ปัจจัยการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย (THE TEACHING FACTORS IN STEM EDUCATION TOWARDS TEACHER’S EFFICIENCY IN PHRAPARIYATTIDHAM SCHOOL, GENERAL EDUCATION...)

Phra Anusit Thepjak, Kittisak Newrat

Abstract


บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย ๒) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สามเณรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๒๖๓ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

             ๑. ปัจจัยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝง จำนวน ๕ ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ ๑๓ ตัวแปร โดยตัวแปรปัจจัยทุกตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

             ๒. โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยภาพรวมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ ๒๕.๗๖ องศาอิสระ ๑๓ และค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ ๐.๐๒ ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเท่ากับ ๐.๙๙ ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้วเท่ากับ ๐.๙๐ ค่าดัชนีรากมาตรฐานของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือเท่ากับ ๐.๐๒ ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความแตกต่างโดยประมาณ เท่ากับ ๐.๐๖ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยด้านประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ ๘๒

             ๓. โมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูได้รับอิทธิพลทางตรงและอิทธิผลทางอ้อมสูงสุดจากปัจจัยด้านหลักสูตร รองลงมา คือปัจจัยด้านความสามารถและคุณลักษณะของครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร และปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และ .๐๕

Abstract

             The purposes of this research were 1) to study teaching factors in STEM education towards teacher’s efficiency 2) to examine a causal model of teaching factors in STEM education towards teacher’s efficiency and 3) to study direct effects, indirect effects and total effects of teaching factors in STEM education towards teacher’s efficiency in Phrapariyattidham School, General Education Department, Chiang Rai Province. Data were collected from 263 samples through the questionnaires and analysis by using the descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation and LISREL analysis.

             The results showed that:

             1. The teaching factors in STEM education towards teacher’s efficiency in Phrapariyattidham School, General Education Department, Chiang Rai Province consist of 5 latent variables and 13 observed variables that were all positive correlation at .01 level of statistically significant.

             2. The causal model of teaching factors in STEM education towards teacher’s efficiency fitted the empirical data with Chi-square = 25.76, df = 13, p = 0.02, GFI = 0.99, AGFI = 0.90, SRMR = 0.02, SRMSR = 0.06. The model account for 82% of variance in teacher’s efficiency.

             3. The causal model of teaching factors in STEM education towards teacher’s efficiency has direct effects and indirect effects from curriculum factor, ability and characteristics of teacher factors, administrator factor and teaching factor at .01 level of statistically significant.

 

 


Keywords


การเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา, ประสิทธิภาพการสอน, ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม "STEM Education, Teaching efficiency, Phrapariyattidhamma teacher"

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.