พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขตภาคเหนือตอนบน (SELF–HEALTH CARE BEHAVIOR OF NOVICE IN THE GENERAL BUDDHIST SCRIPTURE SCHOOLS IN THE NORTHERN THAILAND)

Anocha Wipulakorn, Chanya Anukhro, Praichon Tanud, Nonthaphat Theerawasttanasiri

Abstract


บทคัดย่อ

           สามเณรเป็นศาสนทายาทที่สำคัญ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่ดีนำไปสู่สุขภาพดี    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของสามเณร และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง  กลุ่มตัวอย่างเป็นสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาต้นแบบศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสามเณรจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่และลำปาง จังหวัดละ 1 แห่ง สามเณรจำนวน 416 รูป เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินพฤติกรรมการบริโภค ออกกำลังกายและอารมณ์(พฤติกรรม 3 อ.) ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย individual pair t-test  แจกแจงความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test โดยกําหนดค่าความมีนัยสําคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05   ผลการศึกษาพบว่าสามเณรมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยูในระดับปานกลาง(ร้อยละ 49.5 และ 51.7) ระดับควรปรับปรุง(ร้อยละ 46.6 และ 46.4) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่แตกต่างกัน(mean 1.57,Std.Deviation .568)    พบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้นคือการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอกกอฮอล์  พฤติกรรมที่ต้องปรับปรุงได้แก่กินอาหารครบ 5 หมู่ (ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ นม),ดื่มนมพร่องมันเนย วันละ 1 - 2 แก้ว, กินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ลวก อบ, หลีกเลี่ยงของหวานและขนมที่มีแป้งน้ำตาลมาก,เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน และออกกำลังกายวันละ 30 นาที  ผลภาวะโภชนาการสามเณรด้วยดัชนีมวลกาย(BMI)พบว่ามีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น(ร้อยละ 27.7 และ 30.1) น้ำหนักเทียบกับส่วนสูงพบภาวะอ้วนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน(ร้อยละ 26.7 และ 31.9) ส่วนสูงเทียบกับอายุพบว่าส่วนใหญ่มีส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์อายุ(ร้อยละ78.6 และ 91.1)ทดสอบสมรรถภาพทางกายพบว่าสามเณรส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์และมีแนวโน้มสูงขึ้น(ร้อยละ67.3 และ 82.2) เกณฑ์ที่ไม่ผ่านคือด้านความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อ(ร้อยละ 51.2 และ 61.1)สามเณรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 38 พบมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่ในระดับควรปรับปรุง   อีกร้อยละ 41 พบมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง  ผลการวิจัยครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามเณรยังมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองไม่ดีพอ งานวิจัยนี้ขอนำเสนอข้อเสนอแนะคือ (1)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนิเทศติดตามเสริมพลังเพื่อให้สามเณรมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองอยู่ในระดับดี(2)พัฒนาให้เป็นองค์กรไร้พุง ที่ใช้หลักการลดอ้วน ลดพุง เพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์กรรวมทั้งคนในชุมชน มีความรู้ ทักษะด้านอาหารโภชนาการและออกกำลังกายตามหลักการแนวคิด 3 อ.(อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์) สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักรู้ เข้าใจ และเห็นความสำคัญ ร่วมกันส่งเสริมสุขภาพสามเณรอย่างเป็นองค์รวม.

 

Abstracts

            The novice is an important heir for good health care habits to lead for the good health. The purpose of this study was to investigate the self-care behavior of the novice and suggestion of self-care behavior development. A sample of 416 novices in the General Buddhist Scripture Schools which whom model of Novice Health Promotion Center, Chiang Rai, Phayao, Nan, Phrae and Lampang provinces. The instrument used is the consumption behavior model, exercise and emotional behavior (behavior 3 model). Data were analyzed by individual pair t-test , frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test were statistically analyzed at .05.  The results showed that the novice self-care behaviors were moderate (49.5%, 51.7%), the level of improvement should be improved (46.6%, 46.4%). Comparison of mean scores of the 1st and 2nd times was not significantly different (mean) 1.57, Std.Deviation .568). The higher self-care behaviors were the avoidance of alcoholic beverages, improve of the eating habits of 5 groups (rice, vegetables, fruits, meat, milk), drink milk skim milk 1-2 times a day, eat boiled and steaming foods, avoid desserts and sweets with a lot of sugar, drink purified water instead of soft drinks or nectar, and exercise 30 minutes a day. The nutritional status of the novice with body mass index (BMI) showed that obesity increased (27.7% and 30.1%), weight compared with height was also similar (26.7% and 31.9%), height relative to age, most of them had higher (78.6 and 91.1 percent). Physical fitness test showed that most of the novice students did not pass the criterion and had higher tendency (67.3% and 82.2% respectively).  The non-passing criterion was strength and endurance (51.2% and 61.1%). Non-qualified novices of 38 % found that their health care behaviors were at an improvement, level of 41% found moderate behavior. The results of this study clearly show that novices have poor self-care behaviors. This research suggests that 1) the concerned agencies should supervise and strengthen the novice's health and health care behaviors at a good level  2) to reduce the risk of obesity, all personnel in the organization as well as people in the community have the knowledge, skills, nutrition and exercise in accordance with the concept of 3 model (food, exercise and emotion), and see the importance to jointly promote the health of the novices as a whole.


Keywords


Self-Health Care Behavior,The General Buddhist Scripture Schools

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.