แนวทางการพัฒนาการบริหารด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (A GUIDELINE OF DEVELOPMENT OF THE CONSTRUCTION AND RENOVATION OF THE GOVERNOR MONKS IN CHIANG KHONG DISTRICT, CHIAG RAI PROVINCE)
Abstract
บทคัดย่อ
วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวนโยบายในบริหารด้านการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายและ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยคำถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด รวมถึงการสนทนากลุ่ม (Focus Group)
กลุ่มตัวอย่าง (Sample Size) ในงานวิจัยครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น ๓๐ รูป/คน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ ๑) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น ๑๕ รูป/คน ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ พระสังฆาธิการ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๙ รูป กลุ่มที่ ๒ ผู้นำชุมชนในเขตอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๔ คน กลุ่มที่ ๓ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณูปการ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๒ คน และ ๒) ผู้สนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้แก่ พระสังฆาธิการ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน ๑๕ รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า แนวนโยบายในบริหารด้านการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในอำเภอเชียงของ การตัดสินใจในการบริหารอยู่ที่เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรเป็นส่วนใหญ่ จึงเกิดเป็นปัญหาในการบริหาร ปัญหาสาธารณูปการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ๑) การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ไม่เป็นระบบระเบียบและหมวดหมู่ ๒) การยืม-คืนวัสดุอุปกรณ์ของวัด ชาวบ้านคนในชุมชนมายืมไป แต่เอามาคืนไม่ครบตามจำนวนที่ยืม ๓) เงินทุนในการก่อสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ ๔) ผู้รับเหมาเปิดใบวางบิลกับร้านค้าแต่ออกชื่อบิลเป็นชื่อของวัด ผู้รับเหมาอ้างชื่อวัดเพื่อติดสินเชื่อในการไปเอาของจากร้าน ๕) การทิ้งงานก่อสร้างหรืองานบูรณปฏิสังขรณ์ออกมาไม่ตรงตามแบบแปลน ๖) การตัดสินและการบริหารอยู่ที่บุคคลฝ่ายเดียว
แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนา คือ ๑) จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งระบุเลขและชื่อวัด ๒) ใช้ระบบการยืม-คืนที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีลายเซ็นผู้ยืมและผู้คืน พร้อมทั้งระบุวันที่ยืม-คืนไว้อย่างชัดเจน ๓) ให้ชาวบ้านในชุมชนเข้าส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ รับผลประโยชน์ และประเมินผลร่วมกัน ในทุกเรื่อง ๔) หากผู้รับเหมาเปิดบิลแต่ออกชื่อบิลเป็นชื่อของวัด ผู้รับเหมาอ้างชื่อวัดเพื่อติดสินเชื่อในการไปเอาของจากร้าน ต้องลงบันทึกประจำวัน หรือดำเนินคดีตามกฎหมาย ๕) ทำสัญญาหรือข้อตกลงที่ทางวัดสร้างขึ้นที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุการลงโทษผู้ทิ้งงานไว้อย่างชัดเจน เช่น ดำเนินการปรับเงิน หรือยกเลิกสัญญา เป็นต้น และหากเป็นเรื่องเงินทุนการก่อสร้างจำนวนมาก ถึงหลักล้านบาท ในอนาคตจำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาด้วยการฟ้องร้อง ๖) สร้างจิตสำนึกของคน คือ คณะกรรมการ ชาวบ้าน ให้มีความเป็นจิตอาสาให้สูง เพราะถ้าหากมีจิตอาสาต่ำ จะไม่มีความหวงแหนในสินทรัพย์สมบัติของวัดเป็นของตนเอง
แนวนโยบายการพัฒนาในอนาคต คือ นำระบบการยืม-คืน วัสดุอุปกรณ์ของวัดที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปใช้กับวัดอื่นๆ ในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่มีความสนใจ เพื่อทำให้การจัดการศาสนวัตถุของวัดมีความเป็นระบบและลดปัญหาการคืนของที่ยืมไปไม่ครบตามจำนวน และทำระบบการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ ที่เป็นโปรแกรมระบบยืม-คืน ด้วยคอมพิวเตอร์ (ที่คล้ายคลึงกับระบบยืม-คืนหนังสือของห้องสมุด) โดยมีการจัดแบ่งหมวดหมู่ของศาสนวัตถุ และทำเป็นระบบสแกนบาร์โค้ด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการยืม-คืน
Abstract
This research had 3 purposes: 1) to study the policy of the construction and renovation of the governor monks in Chiang Khong District, Chiang Rai Province, 2) to study problems and obstacles in the construction and renovation of the governor monks in Chiang Khong District, Chiang Rai Province, and 3) to study the guideline to develop the construction and renovation of the governor monks in Chiang Khong District, Chiang Rai Province.
This is a qualitative research using in-depth structured interview with key informants in accordance with research’s purposes including closed-end and opened-end questions, as well as focus group discussion.
Sample size was 30 monks divided into 2 groups: 1) 15 Key informants i.e. 9 governor monks in Chiang Khong District, Chiang Rai Province, 4 community leaders in in Chiang Khong District, Chiang Rai Province and 2 officers from the government agency related to the construction and renovation in Chiang Khong District, Chiang Rai Province and 2) 15 governor monks and related persons in Chiang Khong District, Chiang Rai Province in the Focus Group.
The research revealed that the policy of construction and renovation of the governor monks in Chiang Khong District, Chiang Rai Province are mostly determined by the abbots and lay ministries. Thus, there were problems in management and construction and renovation from the past until present, namely, 1) non-organized and categorized storage of materials, 2) borrowing materials of the villagers in the community borrowed from the temples are not returned in full quantity, 3) funding for construction or renovation, 4) the contractors issued the bills under the temple’s name in order to get a credit from the shop, 5) abandon of construction or renovation or the work was not in accordance with the plan and 6) judgment and management are on a single side.
Problem solving and development are: 1) categorize the materials to be stored as well as labelling them with numbers and temple’s name, 2) apply a written borrowing system with the signature of borrower and returner as well as clearly indicating borrowing and returning date, 3) let villagers participate in the brainstorming, decision-making, benefit receiving, and evaluation in all matters, 4) report the police or prosecute the contractors if they open the bills under the temple’s name to get credit from the shop, 5) make a written contract or agreement identifying the punishment of the contractor who abandon the work clearly, such as fines or agreement termination. If the construction cost is high, up to millions of Baht, it will be necessary to solve the problem by the lawsuit in the future, and 6) create awareness of involved persons i.e. members of committee and villagers, to have volunteer mind. Lack of volunteer mind will make a person doesn’t have any concern on the temple’s assets as if they were their own assets.
Development guideline in the future is to apply the borrowing and returning system for the temple’s materials obtained from this research to other interesting temples in Chiang Khong District, Chiang Rai Province so that the management of temple objects can be systematic and the problem of the materials is not returned in the full quantity can be reduced, and to apply a computer program for the borrowing and returning of materials by categorizing them and applying barcode system for convenience and cursoriness of borrowing – returning.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.