การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (TEACHER DEVELOPMENT FOR QUALITY OF LEARNERS IN THE 21st CENTURY)

Phrasamu Narit Narinto

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ (๒) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ (๓) เพื่อเสนอการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) ผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ คือ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๔๗ โรงเรียน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๓,๕๐๐ คน โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ๓๔๖ คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(Interview) จากผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๑๐ คน ด้วยการเลือกเจาะจง (Purpose Sampling) เป็นการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face- to-Face) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Selection Interview) จากนั้นนำมาสังเคราะห์เป็นรูปแบบเบื้องต้น ก่อนที่จะนำเสนอต่อเวทีสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) เพื่อพัฒนารูปแบบให้มีความสมบูรณ์ขึ้นและนำเสนอต่อดุษฎีพิจารณ์ (Public Hearing) 

ผลการวิจัยพบว่า

          ๑. สภาพการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่าความเหมาะสมของการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์พบว่า ความเหมาะสมระดับมากที่สุด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การส่งเสริมและพัฒนาสิทธิครู ( = ๔.๖๓) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตครูให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ( = ๔.๕๓) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับ ( = ๔.๕๒) และความเหมาะสมระดับมาก คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาครูให้เกิดทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ( = ๔.๕๐) และยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้ครู ( = ๔.๔๕)

          ๒. กระบวนการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า ความเป็นไปได้ของการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๑) เมื่อพิจารณาเป็นรายยุทธศาสตร์พบว่า ความเป็นไปได้ระดับมากที่สุด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การส่งเสริมและพัฒนาสิทธิครู  ( = ๔.๖๔) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับ ( = ๔.๕๒) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตครูให้ได้มาตรฐานเพื่อรองรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ( = ๔.๕๑) และความเป็นไปได้ระดับมาก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาครูให้เกิดทักษะการจัดการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ( = ๔.๔๘) และยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการใช้ครู ( = ๔.๔๑)

          ๓. การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ พบว่า มีการสอบเพื่อรับและต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำหนดให้ครูทุกคนต้องพัฒนาตนเองทุกปี พัฒนาระบบเงินเดือน การตอบแทนครูที่เหมาะสม ประเมินผลการทำงานของครูด้วยวิธีการประเมินแบบค่าสัมพัทธ์ จัดสรรค่าตอบแทนและสวัสดิการให้สามารถดึงดูดคนเก่งและดีมาเป็นครู มีระบบประกันและรับรองคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพครูและสถาบันผลิตครู วางแผนการผลิตครู การพัฒนาและการใช้อย่างเป็นระบบ จัดระบบเพื่อให้บัณฑิตสาขาอื่นได้เป็นครู มีพัฒนาระบบการผลิตครู อาจารย์ที่สอนในระดับสูงกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนให้เกิดการต่อยอด เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า


Abstract 

          The main objective of the study (1) to study the contexts of teacher development for quality of learners in the 21st century (2) to study the process of teacher development for quality of learners in the 21st century and (๓) to present the teacher development for quality of learners in the 21st century.

          Research methodology was a mixed method research by mean of applying the qualitative research and qualitative research. The qualitative research was conducted by in-dept interview from the key informants before the focus group discussion for developing the completed model. 

          The findings were conducted as follows:

          1. The contexts of teacher development for quality of learners in the 21st  century mostly got ( =4.53) pointing that it was at highest level and when it was divided into the strategy founding that the fifth strategy (Supporting and developing the teachers) getting ( =4.62), the second strategy (The process
of learning teaching being standard for learning in the 21st century) getting
( =4.53), the first strategy (Making the standard of teacher) getting  ( =4.52) and the third strategy (Developing the teachers for having the skills of learning in the 21st century) getting ( =4.50) and the fourth strategy (Making the efficiency of teachers) getting ( =4.45)

          2. The process of teacher development for quality of learners in the 21st century mostly got ( =4.51) pointing that it was at highest level and when
it was divided into the strategy founding that the fifth strategy (Supporting and developing the teachers) getting ( =4.64), the first strategy (Making
the standard of teacher) getting ( =4.52), the second strategy (The process
of learning teaching being standard for learning in the 21st century) getting
( =4.51), and the third strategy (Developing the teachers for having the skills of learning in the 21st century) getting ( =4.58) and the fourth strategy (Making the efficiency of teachers) getting  ( =4.41)

          3. The teacher development for quality of learners in the 21st century found that it should exam teacher permission certificate, make all teachers developing themselves every year, develop the system of salary, give the salary to the teacher suitably, measure the teachers’ work, and support for developing in the basic education.

 


Keywords


การพัฒนาครู, คุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.