ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๙ จังหวัดอุตรดิตถ์ (POLICY PROPOSAL FOR DEVELOPING MATHEMATICS ACHIEVEMENT OF MATTHAYOMSUKSA 3...)

Sunsiri Sinthuvongsanon, Manee Sanghirun, Rapin Posrie

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๙ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศึกษาปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนการทำนโยบายสาธารณะของ Thomas R. Day ประชากรได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๙ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๒,๘๑๗ คน ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง ๖๐๓ คน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและปัจจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการศึกษาพหุกรณี แบบการสังเคราะห์เอกสารเพื่อยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย และแบบสอบถามความคิดเห็นในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาและตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบาย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและการวิเคราะห์สามเส้า

          ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๙ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมากจำนวน ๑๐ ปัญหา และข้อเสนอเชิงนโยบายที่พัฒนาขึ้นเป็นนโยบายสำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๙ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีจำนวน ๑๒ ข้อ ได้แก่ ๑)พัฒนากลุ่มเครือข่ายโรงเรียนในด้านวิชาคณิตศาสตร์ กำหนดบทบาทและหน้าที่ของเครือข่าย ๒)จัดทำเว็บไซต์ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนในด้านวิชาคณิตศาสตร์ ๓)สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาบุคลากรด้านคณิตศาสตร์ ๔)พัฒนากระบวนการกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู ๕)ครูมีแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ๖)กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนมีการจัดมหกรรมวิชาการทางคณิตศาสตร์ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๗)กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนและสถานศึกษาสร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาในท้องถิ่นในการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์ ๘)กำหนด มอบหมายปริมาณภาระงานให้เหมาะสมกับปริมาณงานของครูและสภาพบริบทของสถานศึกษา ๙)จัดตั้งห้องศูนย์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ๑๐)พัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดไร้พรมแดน ๑๑)สถานศึกษากำหนดรูปแบบ มาตรการ ข้อระเบียบการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ๑๒) พัฒนาระบบการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองที่เกี่ยวกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้ระบบออนไลน์  ผลการตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบายอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : ข้อเสนอเชิงนโยบาย คณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  

 

Abstract

       This research aimed to develop a policy proposal for developing Mathematics achievement of Matthayomsuksa 3 students under the Secondary Educational Service Area Office 39 in Uttaradit Province. The problems and causes were studied according to the public policy procedure by Thomas R. Dye. The population were 2817 of school administrators, Mathematic teachers and Matthayomsuksa 3 students under the Secondary Educational Service Area Office 39 in Uttaradit Province in the educational year of B.E. 2560. The stratified sampling and random sampling were applied, resulting in a sample of 603 persons. The mixed method research was applied with various instruments, such as, problem survey, in depth interview, multi-cases study, document synthesis to draft the policy proposal, and connoisseurship seminar to review the policy proposal. The quantitative data analyses  included percent, mean, and standard deviation. The qualitative data analyses included content analysis and triangulation.

        The results revealed that there were 10 strong problems that affected the mathematics achievement of schools under the Secondary Educational Service Area Office 39 in Uttaradit Province, resulting in the development of 12 items of the policy proposal as follows : 1) development of mathematics group network schools with a clear role 2) setting up mathematics group network schools website 3) having schools or pertaining office develop mathematic personnel 4) development of a group professional leaning community (PLC) of mathematic teachers 5) the teachers apply the student focused teaching lesson plan 6) the mathematics group network schools have a conference on mathematics to exchange knowledge 7)  the mathematics group network schools cooperate with a local university for developing mathematic teaching and learning 8) assigning appropriate nonteaching workload to mathematic teachers according to a school context 9) setting up a mathematics learning center 10) developing a school library to be a borderless library 11) setting up the rules for students to use mobile phones and 12) developing communication between a school and parents with respect to mathematic learning of students through and online system and social medias. The results of the policy proposal review according to accuracy, benefits, possibilities and suitability by a group of connoisseurship were at the highly satisfied level.

Keywords: policy proposal mathematics achievement

Keywords


policy proposal, mathematics, achievement

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.