การนำแนวคิดธรรมราชาไปประยุกต์ใช้กับการปกครองบ้านเมือง (THE INTEGRATION OF CONCEPT OF DHAMMARAJA WITH COUNTRY ADMINISTRATION)
Abstract
บทคัดย่อ
การนำแนวคิดธรรมราชาไปประยุกต์ใช้กับการปกครองบ้านเมือง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดธรรมราชาตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และเพื่อนำแนวคิดธรรมราชาไปประยุกต์ใช้กับการปกครองบ้านเมือง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นค้นคว้าในคัมภีร์พระไตรปิฎกและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษานำมาวิเคราะห์และเรียบเรียงในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่าธรรมราชาตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือธรรมราชาในทางศาสนาหรือทางธรรม และธรรมราชาในทางโลก ธรรมราชาในทางศาสนา หมายถึงพระพุทธเจ้าเพราะทรงเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่ดีงามครบถ้วน ส่วนธรรมราชาในทางโลก หมายถึงผู้นำหรือผู้ปกครองบ้านเมืองที่ดี มีคุณธรรมประจำใจและนำมาใช้ในการปกครอง ในการนำแนวคิดธรรมราชาไปประยุกต์ใช้กับการปกครองบ้านเมืองึ มี ๖ แนวทางดังนี้ ๑)แนวคิดธรรมราชากับการปกครอง ประกอบด้วยระดับต้นจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี ระดับกลาง จะต้องอาศัยธรรมเป็นหลักในการปกครอง ระดับสูง จะต้องสร้างบุคคลให้มีธรรมราชาในจิตใจเพื่อใช้ในการปกครองทุกระดับ ๒) ภาวะผู้นำกับธรรมราชา ประกอบด้วย มุ่งพัฒนาตนให้เป็นธรรมราชา มุ่งพัฒนาผู้ใต้การปกครองพัฒนาทั้งด้านพฤติกรรม จิตใจตลอดจนถึงสติปัญญา และมุ่งพัฒนาองค์รวมของสังคม ๓)ประสบการณ์ธรรมราชากับผู้ปกครอง ประกอบด้วยมุ่งเน้นหลักการทางพระพุทธศาสนา มุ่งเน้นหลักเข้าสู่การปฏิบัติและมุ่งเน้นกระบวนการทั้งกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณี ๔) ธรรมราชากับคุณสมบัติผู้ปกครอง ประกอบด้วยเป็นแบบอย่างด้านการปฏิบัติตน เงื่อนไขของความเป็นธรรมราชาและแบบอย่างวิธีคิดของบุคคลที่เป็นธรรมราชา ๕) ความเชื่อมั่นในธรรมราชาโดยการสร้างธรรมราชาให้เกิดขึ้นในจิตใจ เชื่อในความมุ่งหมายของความเป็นธรรมราชาและสามารถนำหลักธรรมราชาไปปฏิบัติในทุกระดับ และ ๖) แนวทางการเผยแพร่ธรรมราชา ประกอบด้วยการสร้างองค์ความรู้ การนำไปใช้และการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกัน
Abstract
The study entitled “The integration of concept of Dhammaraja with country administration” had 2 main objectives; 1. To study concept of Dhammaraja through Buddhist principles, and 2. To integrate concept of Dhammaraja with country administration. This study was considered to be qualitative research by focusing on studying intensively in Tripitaka and in–depth interview. The results was analyzed and rewritten in a descriptive form.
The results revealed as follows; Concept of Dhammaraja was divided in to 2 types; 1. The Concept of Dhammaraja concept in the religious aspect, and 2. The Concept of Dhammaraja in the mundane aspect. According to the religious aspect, it referred to the ‘Buddha’ since he had the complete moral qualities or goodness. However, in the mundane aspect, it generally referred to the best governor with goodness. Besides, this governor always integrated his goodness with administration. Therefore, the integration of concept of Dhammaraja in country administration was divided in to 6 ways as follows; 1) concept of Dhammaraja and the administration, consisted of 1. Elementary level which had to focus on the good leader qualities, 2) Intermediate level, which had to follow Buddhist doctrines in order to be the concept of higher administration, and 3) Higher level, which needed to focus on people creation in order to have concept of Dhammaraja in their mind to integrate in all levels of administration.
2. The leadership and concept of Dhammaraja consisted of focusing on self-development to become a good governor, focusing on developing people both their behavior, mind, and wisdom as well as focusing on developing the social overview.
3. The good governor’s experience and the leader generally consisted
of placing importance on Buddhist concept, practical ways, and also legal and traditional processes.
4. The concept of Dhammaraja with leader’s qualities normally consisted of to be a good role model of good leader, good governor condition as well as the ways of thinking of the good leader.
5. The concept of Dhammaraja confidence by creating Dhammaraja concept in people’s mind. Also, it was important to believe in Dhammaraja concept’s objectives and integrate it in the practical ways.
6. The ways to propagate concept of Dhammaraja consisted of knowledge construction both integration and creation of organization realization.
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.