พุทธปรัชญากับญาณวิทยา : Buddhist Philosophy and Epistemology เขียนโดย ศาสตราจารย์ดร.สมภาร พรมทา

kriengsak fongkam

Abstract


ประเด็นที่ ๑ ในการเขียนหนังสือ เรื่อง “พุทธปรัชญากับญาณวิทยา” นี้ ประเด็นที่ผู้เขียนได้ให้เหตุผลและมูลเหตุจูงใจ ได้กล่าวไว้ในคำนำการพิมพ์ว่า พระพุทธศาสนามีทัศนะหลัก ๆ ในทางปรัชญาสาขานั้น ๆ ว่าอย่างไร  เป็นการปูพื้นฐานว่า สาขานั้น ๆ ของปรัชญาว่าด้วยเรื่องอะไร มีนักคิดคนสำคัญได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องหลัก ๆ เหล่านั้นว่าอย่างไร และเสนอว่า เรื่องเหล่านี้ ทัศนะของพุทธปรัชญาเห็นว่าอย่างไร ผู้วิจารณ์เห็นด้วยเป็นส่วนมากับเหตุผลของผู้เขียน แต่มีประเด็นที่น่าสังเกตที่เป็นจุดที่น่าสนใจและนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงทัศนะของพุทธปรัชญาอันเกิดจากการนำเสนอเนื้อหาของพุทธปรัชญากับญาณวิทยาทีมีนัยเชิงปรัชญา การที่ปรัชญาและศาสนาของอินเดียรวมทั้งพุทธศาสนา สนใจศึกษาใจของคนเพื่อหาทางปรับปรุงใจของเราสามารถที่จะมีอำนาจควบคุมตนให้สงบเยือกเย็น การควบคุมใจได้นี้ถือเป็นอุดมคติของปรัชญาและศาสนาของอินเดีย ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงศึกษาใจมนุษย์ผ่านการศึกษาใจของพระองค์เอง ทดลองทำอะไรบางอย่างกับกายของพระองค์เพื่อทดสอบว่าจะมีผลต่อใจอย่างไร เมื่อทดสอบแล้วพบว่าไม่มีผลหรือมีแต่ไม่มากหรือไม่เป็นไปในแนวทางที่ทำให้จิตสว่างไสวเงียบสงบ ก็ทรงละทิ้งแนวทางนั้น หันไปแสวงหาแนวทางใหม่ นี่คือสิ่งที่ผู้เขียนได้บอกว่า พระพุทธองค์ทรงได้ตอบคำถามที่ว่า ความเชื่อ ความรู้และความจริงคืออะไร และเป็นอย่างไรได้เป็นอย่างดี เป็นการใช้อายตนะในการตรวจสอบความรู้และความจริงผ่านสิ่งต่าง ๆที่พบเห็นในโลกกายภาพ ซึ่งก็ทำให้พระองค์ได้เห็นว่าสิ่งต่าง ๆ ปรากฏให้เห็นว่ามีคู่ตรงกันข้ามกัน ที่ว่า จะต้องมีอะไรสักอย่างที่เป็นคู่ตรงข้ามกับความเกิด ความแก่ ความเจ็บและความตาย  ประเด็นที่ ๒ ผู้เขียนได้ยกกาลามสูตร สูตรที่ว่าด้วยการอย่าเพิ่งปลงใจเชื่อสิบอย่างให้เห็นว่า ชาวกาลามะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองด้วยการไม่ปลงใจเชื่ออะไรง่าย ๆ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ฟังเหตุผลของคนอื่นเลย แต่หมายถึง การชะลออารมณ์ความรู้สึกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อไว้ก่อน แล้วนำสภาวะแห่งปัญญามาช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งกาลามสูตรก็มีวิธีพิสูจน์ว่า ความรู้ ความจริงด้วยการพิสูจน์ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีการหาคำตอบที่ชัดเจน ทั้งคำตอบในโลกนี้และโลกหน้า ผู้วิจารณ์เห็นด้วยอย่างยิ่งกับกาลามสูตรเพราะว่าการที่เราไม่รีบด่วนสรุปอะไรบางอย่างเป็นสิ่งที่ดี ประเด็นที่ ๓  ทัศนะของพุทธปรัชญาที่ให้ในเรื่องเหล่านั้นมีคุณค่าต่อวงการปรัชญาอย่างไร และต่อมนุษยชาติในแง่การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้อย่างไร ในประเด็นนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ในบทที่ ๗ ความรู้กับจริยธรรม ว่า ตามทฤษฎีความรู้ของพระพุทธเจ้าได้นำเสนอ หลักใหญ่ใจความเรื่องที่ว่าเราควรแสวงหาความรู้อย่างไรของพุทธศาสนาซึ่งเป็นเรื่องที่ครอบคลุมชีวิตเราทั้งชีวิต นั่นคือ การใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีปัญญา  ผู้วิจารณ์เห็นด้วยกับแนวคิดของพุทธปรัชญาและแนวการนำเสนอของผู้เขียน แต่มีจุดที่จะสะท้อนให้เห็นจุดเด่นและจุดด้อยของหนังสือเรื่องพุทธปรัชญากับญาณวิทยา คือ จุดเด่น คือ ผู้เขียนได้นำเสนอพุทธปรัชญา พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบอีกทั้งนำเสนอแนวคิดคนสำคัญทางปรัชญาตะวันตกสนับสนุนและเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างทำให้ผู้อ่านเห็นภาพที่ชัดเจน  สำหรับจุดอ่อนตามความคิดเห็นของผู้วิจารณ์ คือ หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่เหมาะกับผู้อ่านที่มีพื้นฐานในทางปรัชญาและผู้ที่มีความสนใจทางปรัชญา แต่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางปรัชญา เพราะว่าถ้าไม่มีพื้นฐานจะอ่านแล้วยากที่ทำความเข้าใจได้สมบูรณ์ อีกทั้ง ไม่สามารถมสรุปประเด็นแต่ละประเด็นได้ เนื่องจากศัพท์และคำผู้เขียนได้ยกศัพท์เฉพาะที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามทัศนะผู้วิจารณ์เห็นว่าไม่ยากเกินความรู้ความสามารถที่จะทำเข้าใจ

Keywords


Buddhist Philosophy, Epistemology

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.