การสำรวจและการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนการสอนการบริหารจัดการของโรงเรียนและชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติชุมชนแม่กาภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชฯ

Ketsaraphan Punsrigate Khongjaroen

Abstract


บทคัดย่อ

           การสำรวจและการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนการสอน การบริหารจัดการของโรงเรียนและชุมชน ต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติชุมชนแม่กาภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสำรวจความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติชุมชนแม่กา เพื่อจัดทำคู่มือสำรวจพืชพรรณไม้ธรรมชาติชุมชนแม่กา เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนการสอน การบริหารจัดการของโรงเรียนและชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติชุมชนแม่กา พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุมชนบ้านแม่กา, โรงเรียนบ้านแม่กา, โรงเรียนบ้านห้วยเคียน, โรงเรียนบ้านแม่ต๋ำบุญโยง, โรงเรียนอนุบาลพะเยาแม่กาโทกหวาก ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประชากร ได้แก่ นักเรียนในชุมชนแม่กา แบ่งเป็น ๔ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเมืองพะเยาแม่กาโทกหวาก จำนวน ๑๙๔ คน โรงเรียนบ้านแม่กา จำนวน ๑๒๑ คน โรงเรียนบ้านห้วยเคียน จำนวน ๑๐๗ คน โรงเรียนแม่ต๋ำบุญโยง จำนวน ๔๖ คน นิสิตวิชาเอกชีววิทยา (คู่ขนาน) วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ชั้นปีที่ ๔ จำนวน ๑๔๕ คน เจ้าหน้าที่สังกัดเทศบาลตำบลแม่กา ๕ คน รวมจำนวน ๖๑๘ คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนในชุมชนแม่กา โรงเรียนบ้านห้วยเคียน จำนวน ๑๐๗ คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เกณฑ์ คือ โรงเรียนเป็นสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนใน อพ.สธ. ขอบเขตด้านเนื้อหาพืชพรรณธรรมชาติชุมชนแม่กาและพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยพะเยา ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การเรียน การสอน การบริหารจัดการของโรงเรียนและชุมชนตัวแปรตาม ได้แก่ คู่มือสำรวจพืชพรรณไม้ธรรมชาติ  ชุมชนแม่กา รูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนการสอน การบริหารจัดการของโรงเรียนและชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติชุมชนแม่กา

          ผลการวิจัยพบว่า

          กระบวนการของรูปแบบ ขั้นที่ ๑ เตรียมการ ขั้นที่ ๒ ขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นที่ ๓ การเผยแพร่/ ประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นรับรู้/ประสบการณ์ ขั้นตอนที่ ๒ ขั้นคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นสร้างแนวปฏิบัติที่เหมาะสม ขั้นตอนที่ ๔ ขั้นลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ ๕ ขั้นสรุปและประเมินผล ขั้นตอนที่ ๖ ขั้นชื่นชมการปฏิบัติและผลการปฏิบัติ

          หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน ๑. หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ๒. หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม ๓. หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการรู้จักแสวงหาคำตอบ  จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วย ๔. การสะท้อนผลการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีการพัฒนาตนเองต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

          วัตถุประสงค์ของรูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย ๑. ความรู้ความเข้าใจความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติ ๒. ทักษะการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติ ๓. จิตสำนึกการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ธรรมชาติ


Abstract

          Survey and study suitable model of teaching, managing school and community towards participation in promoting conscious to preserve various species of plants in nature of Mae Ka community under the project of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn to survey diversity and make natural species of plants in Mae Ka survey manual to study the best model of teaching, school and community management in promoting conscious to preserve various species of plants in nature of Mae Ka community. Areas for the study are Ban Mae Ka community, Ban Mae Ka school, Ban Huai Khian school, Ban Mae Tam Boon Yong school, Anuban Phayao Mae Ka Toak Wak school, Mae Ka subdistrict, Mueang district, Phayao. Populations are students in Mae Ka community of 4 schools which are 194 students from Anuban Phayao Mae Ka Toak Wak school, 121 students Mae Ka school and 107 students from Ban Huai Khian school, 46 students from Mae Kam Boon Yong school, 145 senior year students in Biology Major at Educational college, University of Phayao, 5 municipal officers of Mae Ka subdistrict which are total of 618 people. Sample groups are 107 students in Mae Ka community from Ban Huai Khian school chosen by purposive sampling with criteria of schools that are members of school botanical garden. Scope of content about national species in Mae Ka community and around University of Phayao. Variable scope of independent ones are teaching, managing schools and community, dependent variables are plant species survey manual, suitable model of teaching, managing school and community towards participation in promoting conscious to preserve various species of plants in nature of Mae Ka community.  

          The results of the research were as follows :

          The procedures of the developed model included : step 1 is preparation, step 2 is proceeding, step 3 is publishing/PR. Learning activities arrangement includes step 1 is sense/experience, step 2 is think and analysis, step 3 is set appropriate ways, step 4 is practice, step 5 is conclusion and evaluation, step 6 is results.

          The teaching model principles are 1. Student-centered 2. Learning from experience and environment 3. Technology as a tool to find answers from different sources 4. Feedback helping students get knowledge, understanding and self-development.

          Purposes of suitable teaching model include 1. Knowledge and understanding diversity of natural plant species 2. Skill to preserve various species of plants 3. Consciousness to preserve various species of plants.

 


Keywords


School and community management, Raising awareness, Conserve Variety of plants

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.