ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ จังหวัดนนทบุรี (THE INSTRUCTIONAL LEADERSHIP OF SECONDARY EXECUTIVES UNDER THE OFFICE OF THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 3, NONTHABURI PROVINCE)

Sureerat Rodbankoh, Archaree Khoovatanapaisal, Terada Pinyo

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ๒) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารจำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ ๓) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ จังหวัดนนทบุรี จำนวน ๓๔๐ คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบใช้หลักความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิโดยกำหนดชั้นภูมิเป็นขนาดของสถานศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจำนวน ๖ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท ๕ ระดับที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ ๐.๙๖๗ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  และการวิเคราะห์เนื้อหา

 

          ผลการวิจัยพบว่า ๑) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านการพัฒนาวิชาชีพครู รองลงมา ด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอนและด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ ๒) ข้าราชการครูที่อยู่ในสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร ภาพรวม ด้านการมีเป้าหมายร่วมกัน ด้านการบริหารหลักสูตร และด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ โดยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดเล็กและกลางสูงกว่าผู้บริหารที่อยู่ในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และ ๓) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร  ประกอบด้วย นโยบายการพัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและนโยบายการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ  การวิจัยครั้งนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอน และด้านการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Abstract

          This survey research aims to study 1) the level of the Instructional Leadership of school executives, 2) the comparison of the Instructional Leadership of school executives classified by school sizes and 3) the guideline on the development of the Instructional Leadership of school executives. 

The sample used in this research were 340 government teachers under the Office of the Secondary Educational Service Area 3, Nonthaburi Province collected through Stratified Random Sampling method specified by school sizes and 6 educational experts. The tools of this research were 5–points Likert scale questionnaire with reliability of 0.967 and the interview form. Data was analyzed and processed by statistical package program. Statistical processes used for data analysis were Mean, Standard Deviation, Analysis of Variance which specified the statistical significance value at 0.05 and Content Analysis.

          The results of this research were found that 1) the overall aspect of Instructional Leadership of school executives were at high level, the highest one was teaching profession development ollowed by educational management and educational atmosphere encouragement respectively, 2) the government teachers in different school sizes had different opinions about Instructional Leadership of school executives in overall aspects on sharing goals, curriculum management and educational management with the statistical significance value at 0.05 in which the Instructional Leadership of school executives of small and medium school sizes were higher than the school executives in extra-large school size and 3) the guideline on the development of Instructional Leadership of school executives consisted of the policies on the development of participation management and on the improvement of professional standard. This research brought about the knowledge on characteristics of teaching profession development, educational management and educational atmosphere encouragement which were the key factors of the Instructional Leadership of school executives and would lead to the sustainable effective organizational development in the future.


Keywords


Instructional Leadership, School Executive, Secondary School

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.