การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เชิงพุทธบูรณาการ
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในพุทธศาสนา และ 3) เพื่อศึกษาการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เชิงพุทธบูรณาการ ใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) จากคัมภีร์พระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา บทความ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาวิจัยผลการวิจัยพบว่า
การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นกระบวนการการถ่ายทอดในลักษณะ Active Learning ให้ผู้ได้รับการพัฒนาลงมือทำและปฏิบัติ สอนให้จริยธรรมสอดแทรกในทุกกระบวนการพัฒนา จนถึงผลลัพธ์ชั้นสูงสุด คือ ใช้หลักธรรมและหลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือสำคัญในการบูรณาการการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่จะต้องเผชิญกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21 ตามกรอบทักษะ 7Cs โดยใช้หลักธรรมในการบูรณาการ คือ อิทธิบาท 4, อริยสัจ 4, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์,กาลามสูตร, สติ สัมปชัญญะ, พรหมวิหาร 4, สัปปุริสธรรม 7, ปัญญา 3, ปรโตโฆสะ, โยนิโสมนสิการ, อัปปมาทะ, หลักไตรสิกขา, วัฒนมุข 6, อธิษฐานธรรม 4, สมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา โดยจะเห็นได้ว่าหลักธรรมที่นำมาบูรณาการทั้งหมด สังเคราะห์เชื่อมโยงสู่หลักมัชฌิมาปฏิปทา หรือที่เรียกว่า “ทางสายกลาง” เพื่อเป็นเกราะป้องกันทางด้านจิตใจให้เกิดความเข้มแข็งและการมองโลกอย่างเข้าใจ รู้เท่าทัน ประสานสามัคคีในมวลมนุษย์ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
Keywords
ทักษะการเรียนรู้, ศตวรรษที่ ๒๑ ,พุทธบูรณาการ
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.