ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบของการนำนโยบายการควบรวม โรงเรียนขนาดเล็กสู่การปฏิบัติ จังหวัดอุตรดิตถ์

Niracha Phantuphat

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอุตรดิตถ์  2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบของนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอุตรดิตถ์  และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการนำนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสู่การปฏิบัติกรณีที่ประสบความสำเร็จ และกรณีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ประสบความสำเร็จในจังหวัดอุตรดิตถ์ 

        ผลการวิจัย พบว่า ตอนที่ 1 กระบวนการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอุตรดิตถ์  การดำเนินงานควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร และสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้นำท้องที่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 และ เขต 2  และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์  โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์, 2559)  1) สาระสำคัญของการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กระดับชาติ  2) แผนการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของจังหวัดอุตรดิตถ์  และ 3) การดำเนินการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของจังหวัดอุตรดิตถ์ สำหรับปัญหาอุปสรรคของการนำนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กสู่การปฏิบัติ ในจังหวัดอุตรดิตถ์  ปัญหาอุปสรรคในการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารในโรงเรียนหลักที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 14 โรงเรียน ฉบับผู้บริหารโรงเรียนได้รับเครื่องมือส่งคืนกลับมาจำนวน 12 โรงเรียน จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 12 คน  ครูผู้สอน 62 คน บรรยายประกอบตาราง  ตอนที่ 2  ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบของนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอุตรดิตถ์  ผลสรุปประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการศึกษาข้อมูลทั้ง 9 ด้าน ภาพรวมสรุปได้ว่า มีประสิทธิภาพพอสมควร  สำหรับด้านประสิทธิผล พบว่า ประสิทธิผลของการดำเนินการตามนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 รายด้าน ไม่มีประสิทธิผล  ผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดอุตรดิตถ์ จากการลงพื้นที่สำรวจสภาพความเป็นจริงและการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้นำท้องที่ และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นในด้านต่างๆ อย่างหลากหลายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตอนที่ 3  การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก กรณีที่ประสบความสำเร็จ และกรณีการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่ประสบความสำเร็จในจังหวัดอุตรดิตถ์  กรณีประสบความสำเร็จ กรณีศึกษา โรงเรียนวัดคลองนาพง-โรงเรียนวัดผาจักร อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2561 มีแนวทางในการดำเนินงานอย่างชัดเจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่  กรณีไม่ประสบความสำเร็จ (ไม่ไปควบรวม) กรณีศึกษา โรงเรียน ข อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2561 ไม่ต้องการให้ยุบโรงเรียน เนื่องจากต้องการให้มีโรงเรียนอยู่คู่กับชุมชนตลอดไป


Keywords


Education

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.