ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อ น้ำระดับตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน และคลินิกอายุรกรรม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแพร่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้มีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่องเพศ อายุ รายได้ โรคร่วม ดัชนีมวลกาย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ 34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเอง คู่มือการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างอิสระ
ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ระตับน้ำตาลสะสมในเลือดของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองลดลงต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.001)
ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการจัดการตนเองมีผลให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มี พฤติกรรมจัดการตนเองสูงขึ้นและมีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลง ซึ่งพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
Abstract
This quasi-experimental research aimed to examine the effects of a self -management program on level of blood glucose among patients with type 2 diabetes attending the Diabetic clinic or Medical clinic, Out Patient Department (OPD), Phare hospital. The subjects were selected based on the inclusion criteria and were randomly assigned in similarity characteristics such as sex, age, income, morbidity and body mass index (BMI) into experimental and control group thirty four cases in each group. The subjects in the experimental group received the self- management program developed by the researcher, while the control group received routine nursing care. The research instruments consisted of the Self- management program, the Handbook of the patients with type 2 diabetes and the diabetes self care questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test for independent.
The results revealed that score of the self- management behavior of patients with diabetes mellitus type 2 who received the self -management program were significantly higher than those who received routine nursing care and after participating in the program, the scores of patients with diabetes mellitus type 2 were significantly higher (p <.001). Moreover, hemoglobin A1C of patients with who received were significantly lower than that of the patients who received routine nursing care and after participating in the program, hemoglobin A1C levels of the patients with 2 had significantly decreased (p<.001).
The results from this study indicate that the self management program can enhance self management behaviors and decrease hemoglobin A1C level of the. Therefore, nurses and health care profession can use this program to guide in caring and controlling level of blood glucose level the patients with diabetes mellitus.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.