มาตรการการลงโทษทางอาญาฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องหมาย แสดงว่าเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนา

Pittawat Manorat

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยในเรื่องมาตรการการกำหนดโทษทางอาญาฐานแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนานี้ ได้ทำการศึกษาถึงสาเหตุของปัญหากรณีบุคคลที่ไม่ได้บรรพชาหรืออุปสมบทโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาหรือถูกต้องตามกฎหมายแต่ได้แต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาโดยมิชอบอันทำให้เกิดปัญหาร้องเรียนถึงความประพฤติอันไม่เหมาะสมดังกล่าวและกระทบต่อความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาและองค์กรคณะสงฆ์ไทย โดยการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดโทษทางอาญา เพื่อศึกษาบทลงโทษเกี่ยวการแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาโดยมิชอบ และเพื่อวิเคราะห์มาตรการและแนวทางกำหนดโทษทางอาญาในความผิดฐานกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาโดยมิชอบ โดยงานวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทางนิติศาสตร์ ในลักษณะการวิจัยเอกสาร (Documentation Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น (Primary Source) ได้แก่ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตำรา วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ คำพิพากษาของศาลฎีกาและเอกสารชั้นรอง (Secondary Source) ที่เผยแพร่ในลักษณะข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ  

          จากการวิจัยพบว่ามีแนวคิด ทฤษฎีการลงโทษทางอาญาแก่บุคคลที่ถือว่าบุคคลใดกระให้สังคมรังเกียจการกระทำนั้นสมควรกำหนดเป็นโทษทางอาญาได้ ดังนั้น แม้การแต่งกายหรือใช้เครื่องแสดงว่าเป็นพระภิกษุหรือสามเณรในพระพุทธศาสนาจึงเป็นความผิดอาญา ส่วนบทลงโทษหากไม่ได้รับการอุปสมบทโดยชอบด้วยพระธรรมวินัยศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลา 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน แต่สูงสุดไม่เกิน 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา หากอุปสมบทโดยชอบแล้วแต่ได้สละสมณเพศเพราะถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญาหรือล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเป็นอาจิณศาลอาจพิพากษาจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือรอลงอาญาก็ได้

 

Abstract

           Research studies on Measures for determining criminal penalties for dressing or using signs that indicate to be a novice monk in Buddhism. Have studied the cause of the problem in the case of people who do not have ordination or ordination in accordance with the principles of Buddhist discipline or law. But has dressed or used the symbol that shows that it is a novice monk in Buddhism wrongfully causing problems, complaints about the inappropriate behavior and affecting the faith of the people towards Buddhism and the faculty organizationThaimonk.The research aims to study the conceptTheory of criminal penalty
determination In order to study the penalties relating to dressing or using symbols which indicate to be a novice monk in Buddhism wrongfully and to analyze measures and guidelines to determine criminal penalties for wrongdoing or to use symbols which indicate to be a novice monk in Buddhism wrongfully By qualitative research in law In the document research manner (Documentation Research) By collecting data from primary sources, including relevant laws, textbooks, theses, researches, articles of the Supreme Court's verdict, and secondary sources published in online data from various websites.

           The research found that there are concepts Theory of criminal punishment to a person who is considered to be an act of disgust by any society to be considered a criminal punishment. Therefore, even dressing or using the device to show that it is a monk or novice in Buddhism is therefore a crime. As for penalties, if not ordained in accordance with the principles of discipline, the court sentenced to 1 month, 3 months, 6 months, but a maximum of 1 year without parole. If ordained by virtue but has renounced the clergy because it is alleged that a criminal offense or violation of Dhamma disciplinary court may be sentenced to not more than 3 months or awaiting parole.


Keywords


The Punishment Measures of Criminal, Base on Dressing and Symbol usage as Buddhist Monks and Novices in Thailand, It is not right according to the law

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.