มุมมองของประชาชนที่มีต่อวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

worayuth Sathapanasuphakul

Abstract


บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามุมมองของประชาชนที่มีต่อวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นจังหวัดเชียงใหม่การวิจัยครั้งนี้วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก 25 คน และสนทนากลุ่มย่อย 45 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
รวมทั้งหมด 70 คน

            ผลการวิจัย พบว่า การดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 60 ปี และ 10 เป็นการดำรงตำแหน่งเวลายาวนานจนเกินไปก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีความกระตือรือร้น เฉื่อยชา นานๆไป และจะเป็นอำนาจที่ผูกขาดอยู่คนกลุ่มเดียว แผนการพัฒนาหมู่บ้านใหม่ ๆ จะไม่เกินขึ้นชุมชนจะได้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้เกิดอำนาจบารมีกลายเป็นผู้มีอิทธิพล เมื่อครบวาระผู้ลงสมัครแข่งขันมักจะได้กลุ่มเดิม ๆ  เนื่องจากมีการวางตัวสืบทอดอำนาจไว้แล้ว บางรายเป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อายุ 30 ปี กว่าจะเกษียณยังทำงานอีก 30 ปี นับเป็นการอยู่ในตำแหน่งที่ยาวนานมาก บางคนจะกลายเป็นการเมือง เป็นหัวคะแนนหาเลียงให้กับนักการเมือง ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้

             ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่มีวาระ 5 ปี พบว่า เป็นการดำรงตำแหน่งที่เหมาะสมในระระเวลาในการพัฒนาหมู่บ้าน การทำงานจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดแนวคิดใหม่ๆ ที่จะพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง มีความพยายาม ที่จะสร้างผลงาน สร้างความดี เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมากที่สุดปัญหาและข้อเสนอแนะ จะถูกนักการเมืองเข้าครอบงำได้ง่าย การดำรงตำแหน่งระยะสั้นยังไม่เข้าสู่เวทีทางการเมือง บารมียังไม่เกิดขึ้นเป็นต้น

 

Abstract

            The objectives of this study were 1) to study the viewpoints of people towards the term of office of the village headman in Chiang Mai Province, and 2) to study the problems and suggestions to solve the problems for the term of office of the Subdistrict Headman andthe village headman in Chiang Mai province. This research is a Qualitative research that the data were collected from 70 members of the samples: 25 people by using the In-depth interview, and 45 people by using the groupwork discussing divided into 3 groups.

            The result are as follows:

            The position of the village headman in term of 60 years and 10 years was too long that they would get bored while in the performing their duty. They might do their work without enthusiasm or sluggish. It would become a monopolized function. Moreover, a new plan for developing a village would not exceed or the community would be developed slowly. The power of prestige would be as an influential person. When the term is over, the competitional candidates would win the election difficult because the former headman had inherited power already. Some of a village headman started working in the age of 30 years before retiring, and still working for another 30 years. It was considered as a very long period of time. In this point, they might have plan to join the government and work as the election campaignerfor local government or the national government.

            The tenure of the village headman who had 5 years term was an appropriate position during the period of village development. The performing duty efficiently can bring a new idea in order to continually develop the village, and have an attempt to create the good works to gain credibility from the public. It can be considered as the most suitable time as well. The problem is found that the village headman who had 5 years term is easy to be controlled by the politician. Lacking of the influence, the village headman who had a short period working cannot join the government work.               


Keywords


public viewpoints, term of office, Subdistrict Headman, Village Headman

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.