นวนิยายเรื่องกลิ่นกาสะลอง : กรณีศึกษาผ่านหลักธรรมทิศ 6

Chuthamat Srirasa

Abstract


บทคัดย่อ

         บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของหลักธรรมทิศ 6 ที่ปรากฏในนวนิยาย เรื่อง กลิ่นกาสะลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสารและเสนอผลการศึกษา  ด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า หลักธรรมทิศ 6 ปรากฏเด่นชัดและมีความสอดคล้องกับนวนิยาย เรื่อง กลิ่นกาสะลอง คือ 1. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดาบิดา พบการกระทำของตัวละครในด้านบุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดาและมารดาบิดาย่อมอนุเคราะห์บุตรธิดา 2. ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ พบการกระทำของตัวละครในด้านศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์และครูอาจารย์ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ 3. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตรภรรยา พบการกระทำของตัวละครในด้านสามีบำรุงภรรยาและภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี 4. ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย พบการกระทำของตัวละครในด้านบุคคลพึงบำรุงมิตรสหายและมิตรสหาย ย่อมอนุเคราะห์ตอบ 5. ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน พบการกระทำของตัวละคร  ในด้านนายพึงบำรุงคนงานและคนงานย่อมอนุเคราะห์นาย และ 6. ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ พบการกระทำของตัวละครในด้านคฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์และพระสงฆ์ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ความสัมพันธ์ของตัวละครที่เกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำร่วมกันในอดีตชาติส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ในภพชาติต่อไป แสดงให้เห็นถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แฝงอยู่ในนวนิยาย เรื่อง กลิ่นกาสะลอง และสะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องกรรมและเรื่องภพชาติยังคงปรากฏอยู่ในสังคมไทยสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

 

Abstract

          The objective of this research article is to examine the relationships of the 6 Directions Dhamma principle appeared in a novel named Klin Kasalong. This research was a documentary research and presentating by analytical description. The results show clearly that this principle was interwoven through the actions of the characters. For the first direction (Purạtthim Disa : the front direction), referring to children-parents relationship, children take care of their parents and, the parents are responsible for nurturing and supporting their children. For the second direction (Dakkhina Disa: the right direction), referring to student-teacher relationship, students are supportive of their teachers; in return, the teachers provide benevolence to the students. For the third direction (Pacchim Disa: the back direction), referring to husband-wife relationship, the husbands nourish and the wives gratify their husbands. For the fourth direction (Uttara Disa: the left direction), referring to friendship, good friends provide support to each other. The fifth direction (Hetatima Disa : the lower direction), referring to employer-employee relationship, the employers provide their employees assistance; at the same time, the employees dedicate themselves to their employers. For the sixth direction (Uparima Disa : the upper direction), referring to layman-monk relationship, laymen patronize the monks and the monks console the laymen in return. The relationships among the characters in the Klin Kasalong novel were the consequences of their actions in the past lives, and this kind of relationship was a Buddhist belief. This can be concluded that the Buddhist belief in the consequence of action and the belief in past life and it was embedded. This reflects the Buddhist beliefs in Karma and past life which were passed from generation to generations in Thai society.


Keywords


novel, Klin Kasalong, Six Disa (Six Directions)

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.