แนวทางการส่งเสริมการสร้างพระพุทธรูปไม้ในสังคมไทย - ลาว
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณค่าการสร้างพระพุทธรูปไม้ในวัฒนธรรมไทย - ลาว และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอนุรักษ์ฟื้นฟูการสร้างพระพุทธรูปไม้ในสังคมไทย - ลาว วิธีการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นปราชญ์ด้านการจัดสร้างพระพุทธรูปไม้ และผู้มีความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมพุทธศิลป์ของน่าน และหลวงพระบาง ทั้งสิ้น จำนวน 31 รูป/คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง คำถามปลายเปิด
ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณค่าของการสร้างพระพุทธรูปไม้ในสังคมไทย - ลาว มี 3 ด้าน คือ 1.1 ด้านพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปไม้ 1.2 คุณค่าด้านสังคม ช่วยควบคุมสังคมผ่านความเชื่อในเรื่องของบุญและบาป 1.3 คุณค่าด้านความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในเมืองน่านกับเมือง หลวงพระบาง (2) แนวทางการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู การสร้างพระพุทธรูปไม้ ของเมืองน่านและหลวงพระบาง ดังนี้ 2.1 ใช้ประเพณีเป็นเครื่องมืออนุรักษ์ 2.2 ใช้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ 2.3 ส่งเสริม พัฒนา ทักษะการสร้างพระพุทธรูปไม้แก่สามเณรที่บวชเรียน 2.4 ปลูกศรัทธา สร้างความสำนึกการเป็นเจ้าของ 2.5 สร้างมาตรฐานให้เกิดกับตัวผู้สอน 2.6 การสร้างและพัฒนาเครือข่าย 2.7 ส่งเสริมกลุ่มที่มีความสนใจ 2.8 อนุรักษ์พระพุทธรูปไม้ ที่มีในวัดของตนเองเป็นอันดับแรก 2.9 การสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจ 2.10 เรียนรู้จากความสำเร็จ 2.11 ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์ 2.12 สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และ 2.13 จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู พระพุทธรูปไม้ ร่วมกันระหว่างเมืองน่านกับหลวงพระบาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในทิศเดียวกันและมีความยั่งยืน
Abstract
The objectives of this article were 1) study the value of building wooden Buddha images in Thai-Lao calture and 2) to study the guidelines for promoting, preserving, restoring the construcfion of wooden Buddha images in Thai-Lao society. The research methdology was a gualitative research. The key informants were the wisdom on wooden Buddha images making and people who has knowledge in art and culture selecfed by purposive sampling including 31 persous of Nan and Loungphrabang. It used indept interview, focus group discussion and participate observation by using half structural interview form and guestiounairs.
The result of this research revealed that;
1) There were 3 aspects of the value of making a wooden Buddha image in Thai-Lao society namely; 1.1 The Buddhist Art aspect, 1.2 the social aspect had controled the society by passing the belief in accumulated merits and sin, 1.3 the value of Buddhist stability aspect in Nan city and Loung prabanng city.
2) The direction for promoting, conserving, resforing and making the wooden Buddha images of Nan city and Loungprabaug were as follows,2.1 They should let traditons as a tool for conservation, 2.2 use the temple be a learning center, 2.3 promote and develop skill on the making the wooden Buddha image for the norvice, 2.4 cultivate trust and spirit in their own, 2.5 standard building to the teacher, 2.6 make and network developing, 2.7 promote the interesting group, 2.8 consery the wooden Buddha images in their own temples, 2.9 create the spiritual value, 2.10 learn from success, 2.11 use technology to help promote, 2.12 create the suitable environment and 2.13 set the working group on the promation, conservation and restoration of wooden Buddha images between Nan city and Loung Prabang cily for achivement in the same and sustainable devclopment.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.