การส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอของเยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอ เพื่อการยกระดับรายได้สู่เศรษฐกิจชุมชน และถ่ายทอดผลงานด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอสู่เยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดล้านนา การวิจัยเป็นผสมผสานวิธี โดยมีทั้งการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มจาก หอการค้า ผู้ประกอบการ ประธานกลุ่ม ผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น รวมถึงส่วนงานที่เกี่ยวข้อง การถ่ายทอดองค์ความรู้จากปราชญ์ท้องถิ่นโดยกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ และมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลจากผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ แล้วนำมาวิเคราะห์และประเมินผล
ผลการศึกษา พบว่า
1. กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ผลงานผ้าทอบ้านค้างใจเป็นรูปแบบเดิมที่ได้รับการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น การทอผ้าด้วยกี่เอวและนำผืนผ้าที่ได้มาตัดเย็บให้เกิดเป็นเครื่องนุ่งห่ม นำลูกเดือยที่เป็นพืชในพื้นที่มาตกแต่งบนผืนผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม การเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้โดยครอบครัวหรือเครือญาติ และวิทยากรจากปราชญ์ชาวบ้าน
2. การสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอเพื่อยกระดับรายได้ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอบ้านค้างใจ มีการเน้นให้เห็นความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาพัฒนาลวดลายประยุกต์ในผืนผ้าให้เกิดแนวคิดใหม่ที่สร้างสรรค์และเกิดความสวยงาม ตามยุกต์สมัย และสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น
3. การถ่ายทอดผลงานศิลปะผ้าทอเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของ ผ้าทอมือ ศิลปะ รูปแบบของผลิตภัณฑ์ แนวทางในการพัฒนาและออกแบบงานศิลปะบนผืนผ้า โดยนำความรู้ทางด้านศิลปะ วิถีชีวิตของชุมชน มาประยุกต์เพื่อออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าคุมไหล่ ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าคลุมโต๊ะ และการคัดเลือกผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ สวยงาม และประเมินผลการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะเชิงสร้างสรรค์ผ้าทอมือของเยาวชนและผู้สูงอายุในกลุ่มล้านนา
Abstract
The objectives of this article were to study the process of creating woven fabrics to enhace income to the community economy and transfer creative arts and to transfer woven fabrics to youth and the elderly in Lanna province. It was a mixed methods research by sassing documentary researches, qualitative research and action research by using interviews and group discussions from the Chamber of Commerce, entrepreneurs, community leaders, local philosophers, Including related departments, knowledge transfer from local scholars through the workshop in addition and the data collected from creative product questionnaires for bringing this data from trainer the workshop and then the data were anlyzed and evaluated.
The result of study were as follows :
1. The process of product design creatively of Ban Khang Jai fabric was the original design that had passed down through generations to new generation. The weaving with the lumbar and the resulting fabric to create a garment. Using local millet to decorate garment products. Learning and knowledge transfer by family or relative and expert from local philosophers.
2. The work creating of Karen woven fabrics to enhance the income of the Ban Kung Jai fabric manufacturers emphasized the importance of applying folk wisdom and local resources to develop patterns on the fabric to create new ideas and beautiful follows the fashion and create higher product value.
3. The transmission of creative weaving art works learned about hand-woven fabrics, art and product styles. Guidelines for developing and designing art on fabric had brought knowledge of art community way of life applied for design product patterns such as shoulder cloth, ready-to-wear products, table covers, and a selection of creative works that were beautiful and evaluated to promote creative arts learning, hand-woven fabrics of youth and elderly in Lanna Province group.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.