การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ หลักสัปปุริสธรรม 7 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะหลักสัปปุริสธรรม 7 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้หลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ 2.1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังการฝึกอบรม 2.2) ศึกษาคุณลักษณะหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนหลักจากการได้รับการฝึกอบรม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านบึงหัวแหวน ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม และจัดกิจกรรมตามหลักสูตรฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะหลักสัปปุริสธรรม 7 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะสัปปุริสธรรม 7 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 6 หน่วย, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการฝึกอบรมแบบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ, แบบประเมินคุณลักษณะหลักสัปปุริสธรรม 7 จำนวน 18 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ 1) ร้อยละ (%) 2) ค่าเฉลี่ย () 3) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ 4) การทดสอบค่าที (t-test แบบ dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิของหลักสูตรฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะหลักสัปปุริสธรรม 7 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยของระดับความเหมาะสมเท่ากับ 4.089 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และก่อนนำหลักสูตรไปทดลองใช้จริง ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขากับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าประสิทธิ์ภาพ E1/E2 เท่ากับ 77.36/76.48
2. ประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม จากการทดลองใช้หลักสูตรจริงกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย พบว่า 2.1) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังจากได้รับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.2) คุณลักษณะหลักสัปปุริสธรรม 7 ของนักเรียนในระหว่างและหลังการฝึกอบรม พบว่า ด้านการรู้จักเหตุอยู่ในระดับดีมาก ด้านการรู้จักผลอยู่ในระดับดีมาก และด้านการรู้จักตนอยู่ในระดับดี
Abstract
The purposes of this article were 1) to develop and to finde effectiveness of training curriculum according to the Treefold principle to enhance the characteristics the sapphurisdhama 7 for primary education students, 2) to study the effectiveness of training curriculum Including 2.1) study student achievement befor and after training 2.2) study the characteristics of the sapphurisdhama 7 of the students after receiving training. Sampe groups were primary revel students at Ban Bueng Hua Waen School Bo Phloy Sub-district, Bo Phloy Distric, Kanchanaburi Province, amount 32 people which was obtained from a simple randomness by drawing lottery school and organize activities according to training courses according to the Tri-Sikkha principle to strengthen the characteristics of Supuristham 7 for primary education student by using the experiment plan was One Group Pertest – Posttest Design in the second semester of the academic year 2020. The research instruments included traning curriculum according to the Trisikha to strengthen the characteristics of sapphurisdhama 7 for phathom suksa students number of 6 units, an achievement test befor and after the fore-choice multiple-choice training number 30 questions, evaluations of characteristics of sappurisadhama 7 number 18. The statistics were used 1) percentage (%) 2) mean () 3) standard deviation (S.D.) and 4) T-value test (t-test dependent)
The research results were found that
1. The results of the development and effectiveness of the training curriculum according to the threefold principle to enhance the characteristics the sapphurisdhama 7 for primary education student found that the training curriculum was appropriate at a high level, equal to 4.089 and before applying the curriculum, learning activities were organized by using the leaning process according to the threefold principle with non-group student fould that the traning curriculum were the efficiency E1/E2 was 77.33/76.48
2. The results of the trial run training curriculum with target student found that the achievement after training was higher than before the training at the .05 level of significance. Characteristics Sappuristham 7 found that the knowing of the cause was at very good revel, the recognition the result was at very good revel and self-awareness was at a good level.
Keywords
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.